Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อย่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย หมายความว่าอย่างไร

 

วิดีโอ


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี
ณ วัดบางไผ่  20 ก.ย. 55

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

 

 


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ดูกรอานนท์ ก็พระเจ้านิมิราชมีพระราชบุตรพระนามว่ากฬารชนก พระราชกุมาร นั้นมิได้เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ท้าวเธอทรงตัดกัลยาณวัตรนั้นเสีย ชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น

ดูกรอานนท์ เธอพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า สมัยนั้น พระเจ้ามฆเทวะซึ่งทรงตั้งกัลยาณวัตรนั้นเป็นผู้อื่นแน่ แต่ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้ามฆเทวะ เราตั้งกัลยาณวัตรนั้นไว้ ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลังประพฤติ ตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนั้น แต่กัลยาณวัตรนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียง เพื่ออุบัติในพรหมโลกเท่านั้น

ส่วนกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ก็กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว นั้นเป็นไฉน? คือ

มรรคมีองค์ ๘ เป็นอริยะนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว

ดูกรอานนท์ เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลาย ด้วยประการนั้น เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อยุคบุรุษใดเป็นไปอยู่ กัลยาณวัตรเห็นปานนี้ ขาดสูญไป ยุคบุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของบุรุษเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลายด้วยประการนั้น เธอทั้งหลายอย่าได้ชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดีชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล

                                                              (ไทย) ม. ม. ๑๓/๓๒๔/๔๖๓ คลิกพระสูต

  (บาลี) ม. ม. ๑๓/๔๒๖/๔๖๓ คลิกพระสูต       

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาดี ด้วยบทและพยัญชนะอันตั้งไว้ดี แม้อรรถ แห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมมีนัยดีไปด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็น ไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อ ความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมา ติกา ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมไม่ ขาดมูลเดิม ยังมีที่พึ่งอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือนเพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้ไม่มักมากไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตาม อย่างภิกษุเหล่านั้นแม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังเหล่านั้น ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อมหย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม

ดูกรภิกษุ ทั้งหลายธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความ ไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

 

                                                            (ไทย) จตุกฺก. อํ.  ๒๑ / ๑๔๔ / ๑๖๐ คลิกพระสูต

  (บาลี) จตุกฺก. อํ.  ๒๑ / ๑๙๗ / ๑๖๐ คลิกพระสูต       

 

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today98
Yesterday1124
This week3397
This month1926
Total2532789

Who Is Online

11
Online