Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ยุคนี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร เราจะมีวิธีการละนันทิได้อย่างไร

 

 

วิดีโอ

บริษัท ดอกบัวคู่  วันที่ 26 ก.ค. 2556

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ภิกษุ ท. !   เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด   อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน  มีที่เที่ยวหากินต่างกัน  มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง  คือ  เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจรเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก และจับลิง,   มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว   นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือ เสาหลักอีกต่อหนึ่ง  ภิกษุ ท. !    ครั้งนั้น  สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น   มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน  ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ : งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า. ภิกษุ ท. !   ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว; ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง.    ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุ ท. !   ภิกษุรูปใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ,   รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง,   เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยงจมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดมกลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;  ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ, รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด

ขยะแขยง; กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ, สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; และ ใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้น

ไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ, ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;  

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. !   คำว่า  “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก”  นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ.

ภิกษุ ท. !   เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจ

ไว้ว่า  “กายคตาสติของเราทั้งหลาย  จักเป็นสิ่งที่เราอบรม  กระทำให้มาก

กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียงตั้งไว้

เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ  เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย   พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

 

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๒๓๕

(ไทย) สฬา.สํ. ๑๘/๒๑๔/๓๔๙.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา.สํ.๑๘/๒๔๗–๒๔๘/๓๔๙ คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ดูก่อนมิคชาละ !  รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีรูปน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่; ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้,  แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน  ไม่พร่ำสรรเสริญ  ไม่สยบมัวเมา  ซึ่งรูปนั้นนั่นแหละ, นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมไม่มี เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี

ดูก่อนมิคชาละ !  ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์

ด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลิน นั่นแล  เราเรียกว่า  “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”.

 (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี, รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี, และธัมมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ)

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๙๙

(ไทย) สฬา.สํ. ๑๘/๓๔-๓๕/๖๖-๖๗.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา.สํ. ๑๘/๔๔-๔๕/๖๗.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

Today1352
Yesterday1254
This week6157
This month16175
Total2523480

Who Is Online

52
Online