Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การแสดงธรรม การสมาทานศีล และการให้ศีลให้พร ต้องกล่าวเป็นภาษาบาลีด้วยหรือไม่

 

 

วีดีโอ

 

บริษัท ดอกบัวคู่ จำกัด

26 ก.ค. 2556

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

คามณิ ! นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว นั้น เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ปริพพาชกทั้งหลาย  ผู้เป็นเดียรถีย์อื่นต่อเรา เราก็ย่อมแสดงธรรมงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น.     

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

เพราะเหตุว่า  ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดง สักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.

 

 

 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๖๗

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๒๓/๖๐๔–๖๐๕:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๔–๖๐๕:คลิกดูพระสูตร

  

 

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ   จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลายกำหนัดได้บ้าง  พึงปล่อยวางได้บ้างในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้.  

 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?  

ภิกษุทั้งหลาย !  ข้อนั้นเพราะเหตุว่า  การก่อขึ้นก็ดี  การสลายลงก็ดี  การถูกยึดครองก็ดี  การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี  แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่. เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ  จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง  จึงคลายกำหนัดได้บ้าง  จึงปล่อยวางได้บ้างในกายนั้น.  

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี   ว่า “มโน” ก็ดี   ว่า “วิญญาณ”  ก็ดี ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ  ไม่อาจจะเบื่อหน่าย  ไม่อาจจะคลายกำหนัด   ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น.  

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?   

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า  สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้  เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้

เพราะเหตุนั้น  ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ  จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย   ไม่อาจจะคลายกำหนัด  ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้  โดยความเป็นตัวตน  ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย.   

ข้อนี้เป็นเพราะเหตุใดเล่า ?   

ภิกษุทั้งหลาย !  ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง  สามปีบ้าง  สี่ปีบ้าง  ห้าปีบ้าง  สิบปีบ้าง  ยี่สิบปีบ้าง   สามสิบปีบ้าง  สี่สิบปีบ้าง  ห้าสิบปีบ้าง  ร้อยปีบ้าง  เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่  

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี   ว่า “มโน” ก็ดี   ว่า “วิญญาณ” ก็ดี   นั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น  ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือน  วานร   เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่   ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม  เหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไปข้อนี้ฉันใด 

ภิกษุทั้งหลาย !  สิ่งที่เรียกกันว่า  “จิต” ก็ดี ว่า “มโน”  ก็ดี ว่า“วิญญาณ” ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  ดวงหนึ่งเกิดขึ้น  ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.

                                   

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๑๐๑๕

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๙๓–๙๔/๒๓๐-๒๓๒:คลิกดูพระสูตร          

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔-๑๑๕/๒๓๐-๒๓๒:คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Today1385
Yesterday1254
This week6190
This month16208
Total2523513

Who Is Online

114
Online