Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เมื่อเห็นนรก สวรรค์ สัตว์ ญาติในอดีต ควรวางจิตอย่างไร?

 

วิดีโอ

ดาวน์โหลด : 

 

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้

ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ:-

สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑ 

สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑ 

จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) ๑ 

ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .

 

คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ? 

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า 

“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้

อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มี

ความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

 

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๓

(ไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑. : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑. : คลิกดูพระสูตร

 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่

ชื่อว่าตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบาง

อย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้ จะพึงติเตียนเล่า. 

 

                  ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะดังนี้แล เป็นอันกล่าว ตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่า

ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะ

ไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียนเลย. 

 

                    ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ

บ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ

บ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็น อันมาก

บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มี

กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว

พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน

ภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. 

 

                    ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิว

พรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้

ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เข้าถึง

อบาย ทุคติวินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

ยึดถือการระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง สุคติ โลก สวรรค์ ดูกรวัจฉะ เราทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้า

ถึงอยู่. 

 

                ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะเป็นอันกล่าวตามคำที่เรา กล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่

เราด้วยคำไม่เป็นจริง เป็นอันพยากรณ์ถูก สมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถง

ฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียน. 

 

(ไทย) ๑๓/๑๘๕/๒๔๒.คลิกดูพระสูตร

                                                                                                                                                                 (บาลี) ๑๓/๑๒๗/๒๔๒.คลิกดูพระสูตร

  

 

 

 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนครราชคฤห์. 

ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระ

สมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชน

เหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่

ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไม่ชื่อ

ว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตาม

ที่ชอบธรรม จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ ? ”

 

 ชีวก ! ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์ เจาะจงพระสมณโคดมพระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้น

อยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้

ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง 

 

 ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตน

รังเกียจ ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล

ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ 

เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น 

เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน 

เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ 

 ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.

 

 (ไทย) ม. ม. ๑๓/๔๒/๕๖-๕๗. : คลิกดูพระสูตร

                                (บาลี) ม. ม. ๑๓/๔๘/๕๖-๕๗. : คลิกดูพระสูตร

  

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม

นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น

มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

 

เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่

ย่อมละความระลึกและความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้.

เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี

เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

 

อานาปานสติ หน้า  ๔๗–๔๘

(บาลี)  อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๔/๒๙๔.  : คลิกดูพระสูตร

(ไทย)  อุปริ. ม. ๑๔/๑๖๑/๒๙๔.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today1331
Yesterday1254
This week6136
This month16154
Total2523459

Who Is Online

59
Online