Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อริยญายธรรม แปลว่าอะไร?

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

 

 

บางส่วนจาก สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4,mp3

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

       ดูก่อนคหบดี ! ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วย

ปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

       ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า

"ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;

เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;

เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงดับไป :

ข้อนี้ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

 

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;

เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;

เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;

เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;

เพราะมีอุปาทานปัจจัย จึงมีภพ;

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

        ความเกิด ขึ้นพร้อมแห่งก่องทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

 


เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ;

เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป;

เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ;

เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ;

เพราะมีความแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา;

เพราะมีความดับแห่งเวทนาจึงมีความดับแห่งตัณหา;

เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน;

เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ;

เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ;

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึง ดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.


     ดูก่อนคหบดี! อริยญายธรรมนี้แล

เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดีแทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.


 

(ไทย)ทสก.อ. ๒๔/๑๕๗/๙๒:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)ทสก.อ. ๒๔/๑๙๕/๙๒:คลิกดูพระสูตร 

 

 

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today823
Yesterday1254
This week5628
This month15646
Total2522951

Who Is Online

68
Online