Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ตระหนี่, จาคะ และ มหาทานชั้นเลิศ คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4, mp3


 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

จิตตระหนี่ เป็นสิ่งที่ตํ่าเกินไป

สำหรับการบรรลุฌาน และทำให้แจ้งมรรคผล

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่ละธรรม ๕ อย่าง บุคคลจึงไม่ควรเข้าอยู่ ซึ่ง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล.

ธรรม ๕ อย่าง อย่างไรเล่า? ห้าอย่างคือ

ความตระหนี่อาวาส ความตระหนี่ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ (ความดี) ความตระหนี่ธรรม (เครื่องให้บรรลุมรรคผล).

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๓๕๘

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๕๑/๒๕๖ ๒๕๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

มัจฉริยะ ๕ อย่าง

. อาวาสมัจฉริยะ     [ตระหนี่ที่อยู่] . กุลมัจฉริยะ         [ตระหนี่สกุล] . ลาภมัจฉริยะ       [ตระหนี่ลาภ] . วัณณมัจฉริยะ      [ตระหนี่วรรณะ] . ธัมมมัจฉริยะ       [ตระหนี่ธรรม]

(ภาษาไทย) ปา. ที. ๑๑/๑๙๕/๒๘๒. : คลิกดูพระสูตร

 

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวนรชนผู้เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา มีปรกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เจรจาอ่อนหวาน กล่าวแต่คำสมานมิตรสหาย ละคำส่อเสียด ประกอบในอุบายเป็นเครื่องกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ครอบงำความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษ ดังนี้

(ภาษาไทย) สคาถ. สํ ๑๕/๒๗๘/๙๑๕ : คลิกดูพระสูตร

 

ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

เพราะอาศัยตัณหา (ความอยาก) จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);

เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);

เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);

เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);

เพราะอาศัยความกำาหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ;

เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);

เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺจริยํ)

เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข);

เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ; กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำาหยาบว่า มึง ! มึง !การพูดคำาส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม ด้วยอาการอย่างนี้.

ปฐมธรรม หน้า ๗๗

(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๕๑-๕๕/๕๘-๕๙. : คลิกดูพระสูตร

 

ทาน ที่จัดว่าเป็น มหาทาน

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำามาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.

(ในกรณีศีล ๕ อีกสี่ข้อที่เหลือ คือ การเว้นขาดจากอทินนาทาน, การเว้นขาดจากกาเมสุมิฉาจาร, การเว้นขาดจากมุสาวาท และการเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ก็ได้ตรัสโดยมีนัยอย่างเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย ! ทาน ๕ ประการ นี้แล เป็นมหาทานรู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ปฐมธรรม หน้า ๑๒๐

(ภาษาไทย) อฏฺก. อํ. ๒๓/๑๙๑/๑๒๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ผู้ประสบบุญใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใด มนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ อย่าง.

ฐานะ ๕ อย่าง อะไรบ้างเล่า ? ๕ อย่าง คือ :-

() ในสมัยใด จิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใส เพราะได้เห็นนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์.

() ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย พากันต้อนรับกราบไหว้ ให้อาสนะแก่นักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการเกิดในสกุลสูง.

() ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย กำจัดมลทิน คือความตระหนี่เสียได้ในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้เกียรติศักดิ์อันใหญ่.

() ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแจกจ่ายทานตามสติ ตามกำลังในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้โภคทรัพย์ใหญ่.

() ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไต่ถาม สอบสวน ย่อมฟังธรรมในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ปัญญาใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใด, มนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้ แล.

ปฐมธรรม หน้า ๑๕๔

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๑๖/๑๙๙ : คลิกดูพระสูตร

 

คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒)

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :- อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

() ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

() ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

() ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์

() มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน.

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

คู่มือโสดาบัน หน้า ๒๑๕

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๕๒/๑๔๕๑. : คลิกดูพระสูตร

 

หลักการดำรงชีพ เพื่อประโยชน์สุขในวันหน้า

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขของกุลบุตร ในเบื้องหน้า (สัมปรายะ).

๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา (สัทธาสัมปทา) (๒) ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา) (๓) ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค (จาคสัมปทา) (๔) ความถึงพร้อมด้วยปัญญา (ปัญญาสัมปทา)

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา (สัทธาสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?

พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า เพราะเหตุอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำาเริญ จำาแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้. พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?

พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน. พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยศีล.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค (จาคสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?

พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม เป็นปกติยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน. พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยปัญญา(ปัญญาสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?

พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยปัญญา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร ในเบื้องหน้า.

ปฐมธรรม หน้า ๓๔

(ภาษาไทย) อฏฺก. อํ. ๒๓/๒๒๔/๑๔๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

Today409
Yesterday1153
This week2603
This month13983
Total2494482

Who Is Online

11
Online