Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

รายละเอียดเกี่ยวกับ สัตตานัง

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

วีดีโอ1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ชมรมธรรมปรีดา ๑๔ พ.ค. ๒๕๕๕

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่


วีดีโอ2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
สนทนาธรรมหลังฉัน ๑๐ ก.พ. ๒๕๕๖

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง


 

ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน

ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่าดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่านสาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

ดูกรสาติ ได้ยินว่าเธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?

สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความ เกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูกรโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

(ไทย) มู. ม. ๑๒ / ๓๓๑ / ๔๔๒ คลิกพระสูต

(บาลี) มู. ม. ๑๒ / ๔๗๑ / ๔๔๒ คลิกพระสูต


 

ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน (เหตุที่เรียกว่า “สัตว์”)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์’ ดังนี้อันว่าสัตว์มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ?พระเจ้าข้า !”

ราธะ ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณเพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆเพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๔๒๑

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗ / ๑๙๑ / ๓๖๗ คลิกพระสูต

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗ / ๒๓๒ / ๓๖๗ คลิกพระสูต

 

 

สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง, ข้อนี้ฉันใด ;ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกแล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ ก็ทำนองเดียวกัน บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ดังนี้

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๙๗

(ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๔๓๕ / ๑๗๑๖ คลิกพระสูต

 (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๕๔๙/ ๑๗๑๖ คลิกพระสูต

 

 

“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง

เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด

มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่;

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ

ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ

ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่

ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้;

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ

นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ;

นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้

เพราะการดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.

 

หนังสือปฐมธรรม หน้า ๓๐๓

(ไทย)สี. ที. ๙/๓๒๙/๓๔๘-๓๕๐: คลิกดูพระสูตร

(บาลี)สี. ที. ๙/๒๘๒/๓๔๘-๓๕๐: คลิกดูพระสูตร

 

 สังขตลักษณะ

ภิกษุทั้งหลาย ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า ?  สามอย่างคือ :

๑. มีการเกิดปรากฏ  (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);

๒. มีการเสื่อมปรากฏ  (วโย ปญฺญายติ) ;

๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ  (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล  คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม

 

อสังขตลักษณะ

ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม  ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า ?  สามอย่างคือ :

๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด   (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;

๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม   (น วโย ปญฺญายติ) ;

๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ  (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

ภิกษุทั้งหลาย ! สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

                                                                                                                                                                           

หนังสือปฐมธรรม หน้า ๓๐๔

(ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๖-๔๘๗: คลิกดูพระสูตร

(บาลี)ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗: คลิกดูพระสูตร

 

 วิญญาณดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอัน เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดย ความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน

 

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖ / ๙๓ / ๒๓๑ คลิกพระสูต

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖ / ๑๑๔ / ๒๓๑ คลิกพระสูต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Today1362
Yesterday1254
This week6167
This month16185
Total2523490

Who Is Online

99
Online