Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

สัตตานัง คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

วีดีโอ1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

วีดีโอ2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

มิจฉาทิฏฐิเรื่องวิญญาณ

 

สาติ ! จริงหรือ ตามที่ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า

เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป  หาใช่สิ่งอื่นไม่”  ดังนี้  ?

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ข้า พระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วเช่นนั้นว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  หาใช่สิ่งอื่นไม่ ดังนี้

สาติ !  วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสภาวะที่ย่อมพูดได้ รู้สึกได้ (ต่อเวทนา) ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมดี กรรมชั่วทั้งหลาย  ในภพนั้นๆ.”

โมฆบุรุษ !  เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้  เมื่อแสดงแก่ใครเล่า ?

โมฆบุรุษ !  เรากล่าวว่า วิญญาณเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น)  โดยปริยายเป็นอันมาก  ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว  ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.  

โมฆบุรุษ !  ก็ เมื่อเป็นดังนั้น  เธอย่อมชื่อว่า กล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย  ย่อมขุดตนด้วย  ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย  

โมฆบุรุษ !  ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์  ไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร  ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนี้ ยังจะพอนับว่าเป็น ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บ้างหรือไม่ ?

ข้อนี้ จะเป็นไปได้อย่างไร ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

(ตรัสกับสาติเกวัฏฏบุตร)

โมฆบุรุษ !  เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนเองนั้นเถิด  เราจักสอบถาม

ภิกษุทั้งหลายในที่นี้(ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลาย แล้วแสดงธรรมการเกิด แห่งวิญญาณ โดยอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท)

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๐๐๖

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๓๓๒/๔๔๒-๔๔๓. : คลิกดูพระสูตร

 

สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ

 

ภิกษุทั้งหลาย !  เปรียบเหมือนทอนไม  อันบุคคลซัดขึ้นไปสูอากาศ  บางคราวตกเอาโคนลง  บางคราวตกเอาตอนกลางลง  บางคราวตกเอาปลายลง, ขอนี้ฉันใด ;         

ภิกษุทั้งหลาย !  สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไปอยู่

ท่อง เที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ ก็ทํานองเดียวกัน บางคราวแลนไปจากโลกนี้สูโลกอื่น      บางคราวแลนจากโลกอื่นสูโลกนี้.  ขอนั้นเพราะเหตุไรเลา ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ขอนั้น  เพราะความที่เขา เป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.   

อริยสัจสี่  อยางไรเลา สี่อยาง คือ

อริยสัจ คือ ทุกข

อริยสัจ คือ เหตุใหเกิดขึ้นแหงทุกข

อริยสัจ คือ ความดับไมเหลือแหงทุกข 

อริยสัจ คือ ทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข.

เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้  เธอพึงประกอบโยคกรรม  อันเป็นเครื่องกระทําให้รู้ว่า ทุกข เปนอยางนี้, เหตุใหเกิดขึ้นแหงทุกข เปนอยางนี้, ความดับไมเหลือแหงทุกข

เปนอยางนี้, ทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข เปนอยางนี้.ดังนี้.

 

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น  หน้า ๙๗.

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๗๑๖. : คลิกดูพระสูตร

 

ทางไปของสัตว (ที่นําไปสูภพ)

 

สารีบุตร !  คติ ๕ ประการ เหลานี้ มีอยู.  ๕ ประการ อยางไรเลา ? คือ :-

(๑) นรก (๒) กําเนิดเดรัจฉาน (๓) เปรตวิสัย (๔) มนุษย (๕) เทวดา

สารีบุตร !  เรายอมรูชัดซึ่ง นรก ทางยังสัตวใหถึงนรก และปฏิปทาอันจะยังสัตวใหถึงนรก

สารีบุตร !  เรายอมรูชัดซึ่ง กําเนิดเดรัจฉาน ทางยังสัตวใหถึงกําเนิดเดรัจฉาน และปฏิปทาอันจะยังสัตวใหถึงกําเนิดเดรัจฉาน

สารีบุตร !  เรายอมรูชัดซึ่ง เปรตวิสัย ทางยังสัตวใหถึงเปรตวิสัย และปฏิปทาอันจะยังสัตวใหถึงเปรตวิสัย

สารีบุตร !  เรายอมรูชัดซึ่ง เหลามนุษย ทางยังสัตวใหถึงมนุษยโลก และปฏิปทาอันจะยังสัตวใหถึงมนุษยโลก

สารีบุตร !  เรายอมรูชัดซึ่ง เทวดาทั้งหลาย ทางยังสัตวใหถึงเทวโลก  และปฏิปทาอันจะยังสัตวใหถึงเทวโลก

สารีบุตร !  เรายอมรูชัดซึ่ง นิพพาน ทางยังสัตวใหถึงนิพพาน และปฏิปทาอันจะยังสัตวใหถึงนิพพาน

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๓๑

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๑๐๒/๑๗๐. : คลิกดูพระสูตร

 

ความหมายของคําว่า สัตว์}

 

ขาแตพระองคผูเจริญ !  ที่เรียกกันวา สัตว สัตวดังนี้, อันวาสัตวมีได ดวยเหตุเพียงไรเลา พระเจาขา !ราธะ !  ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกําหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยูในรูป  เพราะการติดแลว  ของแลวในรูปนั้น  เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา สัตว(ผูของติดในขันธทั้ง ๕) ดังนี้.

ราธะ !  ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในเวทนา  (ความรูสึกสุข ทุกขและไมสุขไมทุกข) เพราะการติดแลว ของแลวในเวทนานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา สัตวดังนี้.

ราธะ !  ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในสัญญา  (ความหมายรู)  เพราะการติดแลว ของแลวในสัญญานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา สัตวดังนี้.

ราธะ !  ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในสังขารทั้งหลาย (ความปรุงแตง)  เพราะการติดแลว ของแลวในสังขารทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา สัตวดังนี้.

ราธะ !  ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในวิญญาณ  เพราะการติดแลว ของแลวในวิญญาณนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา สัตวดังนี้แล.  

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๒๓.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๑/๓๖๗. : คลิกดูพระสูตร

 

เหตุใหมีการเกิดแห่งสัตว์

 

วัจฉะ !  เรายอมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สําหรับสัตวผูที่ยังมีอุปาทาน (เชื้อ) อยู

ไมใชสําหรับสัตวผูที่ไมมีอุปาทาน.

วัจฉะ !  เปรียบเหมือนไฟที่มีเชื้อ ยอมโพลงขึ้นได ที่ไมมีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไมได อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น.

วัจฉะ !  เรายอมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สําหรับสัตวผูที่ยังมีอุปาทานอยู  ไมใช

สําหรับสัตวผูที่ไมมีอุปาทาน.

พระโคดมผูเจริญ !  ถาสมัยใด เปลวไฟ  ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล สมัยนั้น พระโคดมยอมบัญญัติซึ่ง

อะไรวา  เปนเชื้อแกเปลวไฟนั้น  ถาถือวามันยังมีเชื้ออยู ?

วัจ ฉะ !  สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล เรายอมบัญญัติเปลวไฟนั้น วา มีลมนั่นแหละเปนเชื้อ เพราะวา สมัยนั้น ลมยอมเปนเชื้อของเปลวไฟนั้น.

พระโคดมผูเจริญ !  ถาสมัยใด  สัตวทอดทิ้งกายนี้  และยังไมบังเกิดขึ้นดวยกายอื่น 

สมัยนั้น  พระโคดมยอมบัญญัติซึ่งอะไร  วาเปนเชื้อแกสัตวนั้น  ถาถือวามันยังมีเชื้ออยู ?

วัจ ฉะ !  สมัยใด สัตวทอดทิ้งกายนี้ และยังไมบังเกิดขึ้นดวยกายอื่น เรากลาวสัตวนี้วา มีตัณหานั่นแหละเปนเชื้อ เพราะวา สมัยนั้น ตัณหายอมเปนเชื้อของสัตวนั้น.

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๒๕.

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๙๘/๘๐๐. : คลิกดูพระสูตร

 

สัตว์ได้กายแบบตางๆ

 

ภิกษุทั้งหลาย !  สัตตาวาส ๙ มีอยู  สัตตาวาส ๙ อยางไรเลา ?

ภิกษุทั้งหลาย !    สัตวพวกหนึ่ง (สตฺตา) มีกายตางกัน มีสัญญาตางกัน เหมือนมนุษยทั้งหลาย เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก นี้เปนสัตตาวาสที่ ๑

สัตวพวกหนึ่ง มีกายตางกัน มีสัญญาอยางเดียวกัน  เหมือนเทวดาผูนับเนื่องในหมูพรหม ผูเกิดในปฐมภูมิ (ปมานิพฺพตฺตา) นี้เปนสัตตาวาสที่ ๒

สัตวพวกหนึ่ง มีกายอยางเดียวกัน  มีสัญญาตางกัน  เหมือนพวกเทพอาภัสสระ

นี้เปนสัตตาวาสที่ ๓

สัตวพวกหนึ่ง มีกายอยางเดียวกัน มีสัญญาอยางเดียวกัน เหมือนพวก

เทพสุภกิณหะ นี้เปนสัตตาวาสที่ ๔

สัตวพวกหนึ่ง ไมมีสัญญา  ไมเสวยเวทนา  เหมือนพวกเทพผูเปนอสัญญีสัตว

นี้เปนสัตตาวาสที่ ๕  

สัตวพวก หนึ่ง เพราะกาวลวงเสียได  ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแหงปฏิฆสัญญา เพราะไมใสใจนานัตตสัญญา จึงเขาถึงอากาสานัญจายตนะ

มีการทําในใจวา อากาศไมมีที่สิ้นสุดดังนี้ นี้เปนสัตตาวาส ที่ ๖

สัตวพวกหนึ่ง  เพราะกาวลวงเสียได  ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงวิญญาณัญจายตนะ  มีการทําในใจวา  วิญญาณไมมีที่สุด ดังนี้

นี้เปนสัตตาวาสที่ ๗

สัตวพวกหนึ่ง  เพราะกาวลวงเสียได ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงอากิญจัญญายตนะ มีการทําในใจวา อะไรๆ ก็ไมมีดังนี้

นี้เปนสัตตาวาสที่ ๘

สัตวพวก หนึ่ง  เพราะกาวลวงเสียได  ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเขาถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ดังนี้  นี้เปนสัตตาวาสที่ ๙.

ภิกษุทั้งหลาย !  นี้แล สัตตาวาส ๙.

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๒๙.

(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๒๓/๒๒๘. : คลิกดูพระสูตร

 

สังขตลักษณะ

 

ภิกษุทั้งหลาย !  สังขตลักษณะแหงสังขตธรรม ๓ อยาง เหลานี้ มีอยู.

๓ อยาง อยางไรเลา ? ๓ อยาง คือ :-  

(๑) มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปฺายติ)

(๒) มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปฺายติ)

(๓) เมื่อตั้งอยู ก็มีภาวะอยางอื่นปรากฏ (ิตสฺส อฺถตฺตํ ปฺายติ)

ภิกษุทั้งหลาย !  ๓ อยาง เหลานี้แล  คือ  สังขตลักษณะแหงสังขตธรรม.

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๔๖๗.

(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๖. : คลิกดูพระสูตร

 

อสังขตลักษณะ

 

ภิกษุทั้งหลาย !  อสังขตลักษณะแหงอสังขตธรรม ๓ อยางเหลานี้ มีอยู. 

๓ อยางอยางไรเลา ? ๓ อยาง คือ :-  

(๑) ไมปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปฺายติ)

(๒) ไมปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปฺายติ)

(๓) เมื่อตั้งอยู ก็ไมมีภาวะอยางอื่นปรากฏ (น ิตสฺส อฺถตฺตํ ปฺายติ)

ภิกษุทั้งหลาย !  ๓ อยาง เหลานี้แล คือ อสังขตลักษณะแหงอสังขตธรรม.

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๔๖๘.

(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗. : คลิกดูพระสูตร

 

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจปฏิจจสมุปบาทยึดถือกายเป็นตัวตน ยังดีกว่ายึดถือจิตเป็นตัวตน

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง

พึงคลายกำหนัดได้บ้าง พึงปล่อยวางได้บ้าง

ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี

การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฎอยู่. เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง

จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้

เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วตัณหา

ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า

"นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา" ดังนี้;

เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด

ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า.

แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อ นั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้างสี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ส่วน สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่

ย่อมจับกิ่งไม้ : ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนียวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป,  ข้อนี้ฉันใด;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับ ไป ตลอดวัน .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในเรื่องที่กล่าวนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า

"เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี;

เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี;

เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป :

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ  เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;...ฯลฯ... ...ฯลฯ...; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว,

จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ......ฯลฯ...; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส -

อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสัญญา, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ.

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด;

เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น;เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า "หลุดพ้น

แล้ว" ดังนี้. เธอย่อมรู้ชัดว่า "ชาตินี้แล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำ

ได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก", ดังนี้ แล.

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๙๓/๒๓๑-๒๓๔. : คลิกดูพระสูตร

 

สิ่งๆ นั้น มีอยู่

 

ภิกษุทั้งหลาย !   “สิ่งสิ่งนั้นมีอยู  เปนสิ่งซึ่งในนั้น  ไมมีดิน  ไมมีนํ้า  ไมมีไฟ  ไมมีลม   ไมใชอา กาสานัญจายตนะ ไมใชวิญญาณัญจายตนะ ไมใชอากิญจัญญายตนะ ไมใชเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไมใชโลกนี้ ไมใชโลกอื่น ไมใชดวงจันทร หรือดวงอาทิตยทั้งสองอยาง.

ภิกษุทั้งหลาย !  ในกรณีอันเกี่ยวกับ  สิ่งสิ่งนั้น  เราไมกลาววามีการมา

ไมกลาวว ามีการไป  ไมกลาววามีการหยุด ไมกลาววามีการจุติ ไมกลาววามีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นมิไดตั้งอยู  สิ่งนั้นมิไดเปนไป และสิ่งนั้นมิใชอารมณ  นั่นแหละคือ ที่สุดแหงทุกข ละ.

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๔๗๓.

(ภาษาไทย) อุ. ขุ. ๒๕/๑๔๓/๑๕๘.  : คลิกดูพระสูตร

 

ทัณฑสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ

บางคราวตกเอาโคนลง  บางคราวตกเอาตอนกลางลง

บางคราวตกเอาปลายลง ข้อ นี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตวทั้งหลายผูมี้อวิชชาเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก

ท่องเที่ยวไปมาอยู่  ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น

บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๘๓/๔๓๙. : คลิกดูพระสูตร

 

ที่ตั้งอยูของวิญญาณ (นัยที่ ๒)

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใชเปนพืชมี ๕ อยาง เหลานี้. ๕ อยาง เหลาไหนเลา?

๕ อยางคือ :-

(๑) พืชจากเหงาหรือราก (มูลพีช)

(๒) พืชจากตน (ขนฺธพีช)

(๓) พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)

(๔) พืชจากยอด (อคฺคพีช)

(๕) พืชจากเมล็ด (พีชพีช)

ภิกษุทั้งหลาย ! ถาสิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานี้ ที่ไมถูกทําลาย ยังไมเนาเปอย

ยังไมแหงเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณอยู และอันเจาของเก็บไวดวยดี

แตดิน น้ำ ไมมี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานั้นจะพึงเจริญงอกงามไพบูลย

ไดแลหรือ?

หาเปนเชนนั้นไม พระเจาขา !

ภิกษุ ทั้งหลาย ! ถาสิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานี้แหละ ที่ไมถูกทําลายยังไมเนาเปอย ยังไมแหงเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณอยู และอันเจาของเก็บไวดวยดี

ทั้งดิน น้ำ ก็มีดวย.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย ไดมิใชหรือ?

อยางนั้น พระเจาขา !

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณฐิติ ๔ อยาง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร)

พึงเห็นวา เหมือนกับ ดิน.

ภิกษุทั้งหลาย ! นันทิราคะ (ความกําหนัดดวยอํานาจแหงความเพลิน)

พึงเห็นวาเหมือนกับ นํ้า.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบดวยปจจัย พึงเห็นวา

เหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอารูปตั้งอยู ก็ตั้งอยูได

เปนวิญญาณที่มีรูปเปนอารมณ มีรูปเปนที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอาเวทนา ตั้งอยู ก็ตั้งอยูได

เปนวิญญาณที่มีเวทนาเปนอารมณ มีเวทนาเปนที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอาสัญญา ตั้งอยู ก็ตั้งอยูได

เปนวิญญาณที่มีสัญญาเปนอารมณ มีสัญญาเปนที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอาสังขาร ตั้งอยู ก็ตั้งอยูได

เปนวิญญาณที่มีสังขารเปนอารมณ มีสังขารเปนที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผูใดจะพึงกลาวอยางนี้วา :-

เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด) ความเจริญ ความ งอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถาราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เปนสิ่งที่ภิกษุละไดแลว. เพราะละราคะได

อารมณสําหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไมมี

วิญญาณอันไมมีที่ตั้งนั้น ก็ไมงอกงาม หลุดพนไป

เพราะไมถูกปรุงแตงเพราะหลุดพนไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง

เพราะยินดีในตนเอง ก็ไมหวั่นไหว เมื่อไมหวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน

ยอมรูชัดวา ชาติสิ้นแลว พรหมจรรยอยูจบแลว กิจที่ควรทําไดสําเร็จแลว

กิจอื่นที่จะตองทําเพื่อความเปนอยางนี้ มิไดมีอีก ดังนี้.

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๑๕.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔/๑๐๗. : คลิกดูพระสูตร

 

Today505
Yesterday684
This week4056
This month14074
Total2521379

Who Is Online

85
Online