โสดาบัน เห็นเกิด-ดับ อย่างไร
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่ {/tab}
ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาทแต่ละสายโดยนัย แห่งอริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต ชื่อว่าโสดาบัน (ญาณวัตถุ ๔๔) ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ ๔๔ อย่างแก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น จงกระทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ ว่า :- ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง คือ :- (หมวด ๑) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในชรามรณะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ; (หมวด ๒) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในชาติ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ; (หมวด ๓) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในภพ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งภพ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ; (หมวด ๔) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในอุปาทาน; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; (หมวด ๕) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในตัณหา; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; (หมวด ๖) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในเวทนา; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; (หมวด ๗) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในผัสสะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; (หมวด ๘) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในสฬายตนะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; (หมวด ๙) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในนามรูป; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป; (หมวด ๑๐) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในวิญญาณ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; (หมวด ๑๑) ๑. ญาณ คือ ความรู้ ในสังขารทั้งหลาย; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง. (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๕๒-๕๕/๑๑๘-๑๒๕ : คลิกดูพระสูตร
ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาทแต่ละสายถึง “เหตุเกิด” และ “ความดับ” ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต ก็ชื่อว่าโสดาบัน (ญาณวัตถุ ๗๗) ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ ๗๗ อย่างแก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น,จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า :- ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ ๗๗ อย่างนั้น คือ :- (หมวด ๑) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะ ย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๒) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๓) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๔) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๕) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๖) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๗) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๘) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๙) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวด ๑๐) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณ ย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา; (หมวดที่ ๑๑) ๑. ญาณ คือ ความรู้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; ๒. ญาณ คือ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๓. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; ๔. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๕. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; ๖. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๗. ญาณ คือ ความรู้ว่า แม้ ธัมมัฏฐิติญาณ ในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้ เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗อย่าง ดังนี้ แล. (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๕๕-๕๘/๑๒๖-๑๒๗ : คลิกดูพระสูตร
วิดีโอ