Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

คนขี้โมโหโกรธง่าย และ คนชอบเอาเปรียบคนอื่น เราจะแนะนำเขาให้ปฎิบัติเพื่อการแก้ไขอย่างไร

 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์  วันที่ 5 มี.ค. 54
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ (ซึ่งแต่ล่ะหมู่)

 

ปรารถนาอยู่ว่า เราจะเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแกกั่นและกัน แต่แล้วก็ ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่าพระเจ้าข้า ?”.

 

จอมเทพ ! ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) นั่นแล

เป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ (ซึ่งแต่ล่ะหมู่)

ปรารถนาอยู่ว่า เราจะเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไมมีการเบียดเบียนแกกั่นและกัน

แต่แล้วก็ ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันได้.

 

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น

(สมุทัย) มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ) ? เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงมี ?

เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงไม่มี พระเจ้าข้า ?”.

 

จอมเทพ ! ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น

มีสิ่งอันเป็นที่รัก และสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺ ปยิ ) นั่นแลเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...

เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก ไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี.

 

“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็น

ที่รักนั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ... ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็น

ที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและ

สิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มี พระเจ้าข้า ?”.

 

จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น

มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ

ไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี.

 

ปฐมธรรม หน้า ๘๐

 (ไทย) มหา. ที. ๑๐/๓๑๐-๓๑๒/๒๕-๒๐๖ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๓๑๐-๓๑๒/๒๕๕-๒๕๖: คลิกดูพระสูตร

 

 

“ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วใน อดีตทุกข์ทั้งหมดนั้น

มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์;

และทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้นใน อนาคต

ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”.

 

ปฐมธรรม หน้า ๘๒

 (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๓๓/๖๒๗.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.: คลิกดูพระสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ

พึงจับงู จรเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง  แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น 

ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง

ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงมาสู่โคจรและวิสัยของตนๆ คือ

งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก

จรเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงแม่น้ำ

นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่อากาศ

สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปบ้าน

สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าสู่ป่าช้า

ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิด

เหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนแนบ นั่งแนบ

นอนแนบหลักหรือเสานั้นเอง

 

แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ

รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ

ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ

ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล

 

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

กายคตาสติ  เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดังยาน

กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

 

 

 (ไทย) สฬา.สํ. ๑๘/๒๑๓/๓๔๘,๓๕๐: คลิกดูพระสูตร

(บาลี )สฬา.สํ. ๑๘/๒๔๖,๒๔๘/๓๔๘,๓๕๐: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น

 

สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง ในเวลาเย็น

เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่  แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว(หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕)

เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว

เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้วได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา

เวลานั้นเราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใดเต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น

สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้วก็คิดว่า

บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุเหล่านี้บ้าง เพราะฉันนั้นแล

 

ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ

จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ 

อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น

ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์

ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ฟังเสียงด้วยหู...

ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น...

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ

จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ

อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น

ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่

เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาสหลีกจากท่านทั้งหลายไป

ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

 

 

 (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๗/๓๒๐.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๒/๓๒๐: คลิกดูพระสูตร


 

 

 

 

 

 

 

 

Today1360
Yesterday1254
This week6165
This month16183
Total2523488

Who Is Online

83
Online