Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อริยบุคคลระดับใดจึงจะไม่มีความโกรธ และจะต้องฝึกฝนอย่างไรเพื่อที่จะแก้ความโกรธ

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

บริษัท อาหารยอดคุณ  วันที่ 27 มิ.ย. 2555

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี,

เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี,

กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี,

รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี,

โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี

ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี,

อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ

เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่;

 

ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมก

ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้น.

เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก

ซึ่งอารมณ์มี รูปเป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.

 

ปุณณะ ! เรากล่าวว่า

"ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้

เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน" ดังนี้ แล.

 

 

(ไทย)อุปริ. ม.๑๔/๓๖๒/๗๕๖.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)อุปริ. ม.๑๔/๔๘๑/๗๕๖.คลิกดูพระสูตร

 

  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐม ฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตน ฌานบ้าง ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัดความดับ นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือ ลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯบรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่อ อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย ตติยฌานบ้าง เพราะอาศัย

จตุตถฌานบ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมณานข้างบนนี้ ทุกตัว

อักษรทั้ง ในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น)

 

 

(ไทย)นวก. อํ. ๒๓/๓๔๑-๓๔๗/๒๔๐.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.คลิกดูพระสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบประกอบด้วยองค์ ๔ จึงเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็น ผู้ควรที่พระราชาใช้สอย ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเป็นอังคาพยพของพระราชาทีเดียว

องค์ ๔ เป็นไฉน คือ

นักรบในโลกนี้เป็นผู้ฉลาด ๑

เป็นผู้ยิงได้ไกล ๑

เป็นผู้ยิงได้เร็ว ๑

ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายนักรบประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็นผู้ควรที่ พระราชาใช้สอย ย่อมถึงการนับว่าเป็นอังคาพยพของพระราชาทีเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๑

เป็นผู้ยิงได้ไกล ๑

เป็นผู้ยิงได้เร็ว ๑

ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ๑

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เป็นผู้ฉลาดในฐานะอย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ไกลอย่างไร

ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันเป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกลและ ใกล้รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกลและใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเราไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ไกลอย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็วอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุ ให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ เร็วอย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้อย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำลายกองอวิชชาใหญ่เสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้อย่างนี้แล

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควร ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลีเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ 

 

 

(ไทย)จตุกฺก. อ. ๒๑/๑๖๕/๑๘๑:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)จตุกฺก. อ. ๒๑/๒๓๑/๑๘๑:คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือหรือ รอยนิ้วหัวแม่มือ

ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้  

แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า 

ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ

คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด;

  

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า

วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้

วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ รู้แต่เพียงว่า สิ้นไป

ในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

(ไทย)สตฺตก. อํ. ๒๓/๙๘/๖๘.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๖/๖๘.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

Today579
Yesterday1254
This week5384
This month15402
Total2522707

Who Is Online

57
Online