การซื้อเนื้อสัตว์ในตลาดมาบริโภค บาปหรือไม่
วิดีโอ
บริษัท ดอกบัวคู่ วันที่ 26 ก.ค. 2556
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุ ท. ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ. เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบาก (ผลสุกวิเศษ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ. .... คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ. ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือผัสสะ. ภิกษุ ท. ! เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กรรมที่ทำให้เสวยในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิด เดรัจฉาน มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยในมนุษยโลก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยในเทวโลก มีอยู่, ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปะปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๗๖ (ไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๕/๓๓๔.คลิกดูพระสูตร
ชีวกะ ! การที่ชนเหล่านั้นมากล่าวว่า “มหาชนฆ่าสัตว์มีชีวิต อุทิศเฉพาะพระสมณโคดม, พระสมณโคดมรู้อยู่ ก็บริโภคเนื้อที่เขาทำแล้วอุทิศเฉพาะ” ดังนี้ ชนพวกนั้น ไม่ชื่อว่ากล่าวสิ่งที่เรากล่าว เขากล่าวตู่เรา ด้วยสิ่งไม่มีจริง ไม่เป็นจริง. ชีวกะ ! เรากล่าวว่าเนื้อที่ไม่ควรบริโภค ก็เพราะเหตุสามอย่าง คือ ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้เกิดรังเกียจโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว. ชีวกะ ! เหล่านี้แล เหตุสามอย่าง ที่ทำให้เรากล่าวว่า เนื้อนั้นไม่ควรบริโภค. ชีวกะ ! เรากล่าวว่าเนื้อที่ควรบริโภค ก็เพราะเหตุสามอย่าง คือ ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ฟังแล้ว ไม่ได้รังเกียจโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว. ชีวกะ ! เหล่านี้แล เหตุสามอย่าง ที่ทำให้เรากล่าวว่า เนื้อนั้นควรบริโภค. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๔๔ (ไทย) ม.ม. ๑๓/๔๒/๕๗.คลิกดูพระสูตร (บาลี) ม.ม. ๑๓/๔๘/๕๗.คลิกดูพระสูตร