Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การฉันเนื้อสัตว์ ตามวินัยสงฆ์ คืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ ๓๐ เม.ย. ๕๔

 ดาวน์โหลด : วิดีโอ

 

วิดีโอ2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ ๑๘ มิ.ย. ๕๔

 ดาวน์โหลด : วิดีโอ

 

 


 

เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง

 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนครราชคฤห์.

ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรม จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ ? ”

 ชีวก ! ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์ เจาะจงพระสมณโคดมพระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง

 ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล

 ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ

เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ

 ชีวก ! เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.

 (ภาษาไทย) ม. . ๑๓/๔๒/๕๖-๕๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 อนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์

 ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

พระพุทธเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย   ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุ ทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและ เนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อย่าเลยเทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้น จงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ในบ้าน รูปใดปรารถนา จงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาตโคนไม้ เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน

เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ

 ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการ นี้ จึงร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัท ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป

(ภาษาไทย) จุลฺล. วิ. ๗/๑๒๘/๓๘๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล (นัยที่ ๒)

 มหาราชะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

 เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว, เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมและการดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกแก่กุศล,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการประดับประดา คือทัดทรง ตกแต่งด้วยมาลาและของหอมและเครื่องลูบทา,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเงินและทอง,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าวเปลือก,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและเด็กหญิง,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ทั้งผู้และเมีย,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับที่นาและที่สวน,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการรับใช้เป็นทูตไปในที่ต่างๆ,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การลวงด้วย ของปลอมและการฉ้อด้วยเครื่องนับ,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยการนับสินบนและล่อลวง,

 เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้นและการกรรโชก,

 แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,

 พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๓๒๒

 (ภาษาไทย) สี. ที.  ๙/๕/๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.          ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต

 ปลา เนื้อ ที่บริสุทธิ์ โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.

 

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๘๕/๘๐. : คลิกดูพระสูตร

 

พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อบางประเภท

 ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อของเขาถวายก็ได้

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.  

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉัน เนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.   

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.  

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้องู รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.     

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.       

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้อเสือโคร่ง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.       

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้อเสือเหลือง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.  

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้อหมี รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.   

 ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไม่พึง ฉันเนื้อเสือดาว รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๕๘/๕๙-๖๐. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

น ที่จัดว่เป็น มห

 ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละปติบต เว้นขดจกปติบต.

 ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่ให้อภัยทน อเวรทน อัพยปัชฌทน แก่สัตว์ทั้งหลย มกไม่มีประม;

 ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งควมไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีควมเบียดเบียน อันไม่มีประมณ.

 ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นทนชั้นปฐม เป็นมหน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ

 ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข

 

ฆรสชั้นเลิศ หน้า ๑๓๐

 (ภาษาไทย) อฏฺก. อํ. ๒๓/๑๙๑/๑๒๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

Today233
Yesterday474
This week707
This month9099
Total2367093

Who Is Online

10
Online