พระอรหันต์ แสดงอารมณ์โกรธได้ไหม
ภิกษุทั้งหลาย. ! หลักเกณฑ์นั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยแล้วไม่ต้อง
อาศัยความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม ๆ กันมา การตริตรึกไปตามอาการ
การเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเลย ก็อาจพยากรณ์การบรรลุอรหัตตผล
ของตนได้ โดยรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ
สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย. ! หลักเกณฑ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย. ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว รู้ชัดราคะโทสะ
โมหะซึ่งเกิดมีอยู่ในภายใน ว่าเกิดมีอยู่ในภายใน, รู้ชัดราคะโทสะ
โมหะอันไม่เกิดมีอยู่ในภายใน ว่าไม่เกิดมีอยู่ในภายใน. ภิกษุทั้งหลาย. !
เมื่อเธอรู้ชัดอยู่อย่างนี้แล้ว ยังจำเป็ นอยู่อีกหรือ ที่จะต้องรู้ธรรมทั้งหลาย
ด้วยอาศัยความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม ๆ กันมา การตริตรึกไปตามอาการ
การเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตน ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” ภิกษุทั้งหลาย. !
ธรรมทั้งหลายเป็ นสิ่งที่ต้องเห็นด้วยปัญญาแล้วจึงรู้ มิใช่หรือ ?
“ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”
ภิกษุทั้งหลาย. ! นี่แหละ หลักเกณฑ์ ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยแล้ว ไม่ต้อง
อาศัยความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม ๆ กันมา การตริตรึกไปตามอาการ
การเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเลย ก็อาจพยากรณ์การบรรลุอรหัตตผล
ของตนได้ โดยรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ
สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
(ในกรณีแห่งการ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยผิวกาย และ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัสต่อไปอีกโดยนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งการเห็นรูปด้วยตา ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๐๐
(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๓/๒๔๐.: คลิกดูพระสูตร
มหาตัณหาสังขยสูตร ที่ ๘
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง
เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่
ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.
เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว
เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี
ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่
ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป
เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ อย่างนี้.
ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก
ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง
เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่
ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.
เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึงไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่
ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้ง หลายก็ดับไป
เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ ภพก็ดับ
เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมนัสและอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้
อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๓๔๗/๔๕๘.: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความกำหนดรู้
และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ?
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความกำหนดรู้ เป็นไฉน ?
ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว เป็นไฉน ?
บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่า พระอรหันต์
กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๑/๒๘๙-๒๙๒. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย. ! โรคสองอย่างเหล่านี้มีอยู่. สองอย่างอะไรกันเล่า ?
สองอย่างคือ โรคทางกาย กับ โรคทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย. ! ย่อมเห็นกันอยู่แล้วว่า สัตว์ทั้งหลาย ที่ยืนยันถึงความไม่มีโรคทางกายตลอด ๑ ปีบ้าง, ๒ ปีบ้าง, ๓ ปีบ้าง, ๔ ปีบ้าง, ๕ ปีบ้าง,๑๐ ปีบ้าง, ๒๐ ปีบ้าง, ๓๐ ปีบ้าง, ๔๐ ปีบ้าง, ๕๐ ปีบ้าง, ๑๐๐ ปีบ้าง,และที่ยืนยันถึงความไม่มีโรคทางกายยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง, ก็พอจะหาได้.
ภิกษุทั้งหลาย. ! แต่หมู่สัตว์ ที่จะกล้ายืนยันถึงความไม่มีโรคทางใจแม้ชั่วเวลาเพียงครู่เดียว (มุหุตฺต) เว้นแต่พระขีณาสพแล้ว นับว่า หาได้แสนยากในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย. ! โรคของบรรพชิตสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างอะไรกันเล่า ? สี่อย่างคือ :-
(๑) ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจเพราะความมักมากอยู่เสมอ,
ไม่รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ ตามมีตามได้.
(๒) ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจเพราะความมักมากอยู่เสมอ
ไม่รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ ตามมีตามได้แล้ว,
ย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพื่อจะได้รับการคอยเอาอกเอาใจจากคนอื่น,
และเพื่อจะได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ.
(๓) ภิกษุนั้น ย่อมวิ่งเต้น ขวนขวาย พยายาม เพื่อจะได้รับการเอาอกเอาใจจากคนอื่น,
และเพื่อจะได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ.
(๔) ภิกษุนั้น ย่อมคิดวางแผนการเข้าสู่สกุล ย่อมคิดวางแผนการนั่งในสกุล ย่อมคิดวางแผนการกล่าวธรรมในสกุล ย่อมคิดวางแผนการทนกลั้นอุจจาระปัสสาวะ คลุกคลีอยู่ในสกุล
ภิกษุทั้งหลาย. ! โรคของบรรพชิตสี่อย่างเหล่านี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจว่า
“เราทั้งหลาย จักไม่เป็นผู้มักมาก, จักไม่เป็นผู้ร้อนใจเพราะความมักมาก,
แต่เป็นผู้รู้จักพอด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และหยูกยาแก้ไข้ ตามมีตามได้ ;
จักไม่ตั้งความปรารถนาลามก เพื่อให้ได้รับการคอยเอาอกเอาใจจากคนอื่น
และเพื่อให้ได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ;
จักไม่วิ่งเต้น ขวนขวายพยายาม เพื่อให้ได้รับการคอยเอาอกเอาใจจากคนอื่น,
และเพื่อให้ได้ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ;
จักเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย,
ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่างๆ,
เป็นผู้อดทนต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อนขมขื่นไม่เจริญใจ
ถึงขนาดจะคร่าเอาชีวิตเสียได้” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า๑๖๘
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๑/๑๕๗ : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม
จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.
อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์,
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ .
ขุมทรัพยจากพระโอษฐ หน้า ๔๑๙.
(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๒๒๒/๕๒๗. : คลิกดูพระสูตร