อินทรีย์ทั้งหลายเป็นธรรมชาติที่เสมอๆ กัน มีความหมายอย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑
ปัญญินทรีย์ ๑
เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง (ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
(ภาษาไทย) มหา. สํ. ๑๙/๒๑๑/๘๔๔. : คลิกดูพระสูตร
ต้องขึงสายพิณพอเหมาะ
โสณะ ! เธอมีความคิดในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร: เมื่อก่อนแต่ครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอเชี่ยวชาญในเรื่องเสียงแห่งพิณ มิใช่หรือ?
“เป็นเช่นนี้ พระเจ้าข้า !”
โสณะ ! เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใดสายพิณของเธอขึงตึงเกินไป เมื่อนั้นพิณของเธอจะมีเสียง ไพเราะน่าฟังหรือ จะใช้การได้หรือ?
“ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”
โสณะ ! เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใดสายพิณของเธอขึงหย่อนเกินไป เมื่อนั้นพิณของเธอจะมี เสียงไพเราะน่าฟังหรือ จะใช้การได้หรือ?
“ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”
โสณะ ! แต่ว่าเมื่อใดสายพิณของเธอไม่ตึงนัก หรือไม่หย่อนนัก ขึงได้ระเบียบเสมอ ๆ กันแต่พอดี เมื่อนั้นพิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะน่าฟังหรือใช้การได้ดี มิใช่หรือ?
“เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”
โสณะ ! ข้อนี้ก็เป็นเช่นนั้นแล กล่าวคือ ความเพียรที่บุคคลปรารภจัดเกินไป ย่อมเป็นไป เพื่อความฟุ้งซ่าน, ย่อหย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน.
โสณะ ! เหตุผลนั้นแล เธอจงตั้งความเพียรแต่พอดี, จงเข้าใจความที่อินทรีย์ทั้งหลายต้องเป็น ธรรมชาติที่เสมอ ๆ กัน, จงกำหนดหมายในความพอดีนั้นไว้เถิด.
“พระเจ้าข้า ! ข้าพระองค์จักปฏิบัติอย่างนั้น”
(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ ๒๒/๓๓๙/๓๒๖. : คลิกดูพระสูตร