Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อินทรีย์ ๕ , พละ ๕ คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ 1

พุทธวจนบรรยาย ณ วัดบางไผ่ วันที่ 20 ก.ย. 2555

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานีดาวน์โหลด : mp4 , mp3 

 

เสียง 1


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานีดาวน์โหลด : mp3

 

 

เสียง 2


พุทธวจนสนทนา ช่วงหลังฉัน วันอาทิตย์ที่ 16 ธ.ค. 2555

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานีดาวน์โหลด : mp3

 

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

สาเกตสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.

. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์

สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์

สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์

สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์

สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๓๙/๙๗๕-๙๘๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ?

ห้าอย่างคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน โสตาปัตติยังคะสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน สัมมัปปธานสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สตินทรีย์ เห็นได้ใน สติปัฏฐานสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน ฌานสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? ปัญญินทรีย์ เห็นได้ใน อริยสัจสี่.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ อย่าง. . . . .

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๕๑๕

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๙/๘๕๒-๘๕๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไรเล่า?

ในกรณีนี้คือ อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงซึ่งสัจจะแห่งการเกิดดับอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. อริยสาวกนั้น รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! การรู้นี้ เรากล่าวว่า ปัญญินทรีย์.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๕๑๖

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๓/๘๖๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

สารีบุตร ! . . . . อริยสาวกจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่าสังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้นที่สุดย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งปลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังเล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น มีอยู่; นั่น เป็นบทที่สงบ นั่น เป็นบทที่ประณีต, กล่าวคือ เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพานสารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นปัญญินทรีย์ของเธอนั้น.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๕๑๖

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙/๑๐๒๐. : คลิกดูพระสูตร

 

 

...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น อายตนะ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

...ฯลฯ...

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๒๖

(บาลี) ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๖-๘๐/๑๑๘-๑๒๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

พระอริยบุคคลมีหลายระดับ

เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่. ห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ห้าประการคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์แห่งอินทรีย์ห้าประการเหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๕) : ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ; เพราะความต่างแห่งผล จึงมีความต่างแห่งบุคคล แล.

.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๗) : ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ; ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๘๗

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๘๙๙-๙๐๐. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมแล้ว, และเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว. เมื่อเราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุอยู่, เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในดวงตาเล็กน้อยบ้าง, มีมากบ้าง, ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง, มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง, อาจสอนให้รู้ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง; และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี;

เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก, ดอกบัวบางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ,

บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ,

บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว, มีฉันใด,

ราชกุมาร ! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันฉันนั้น. ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราได้รับรองกะสหัมบดีพรหมด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า:-

ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์เหล่านั้น, สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลงศรัทธาลงไปเถิด, ดูก่อนพรหม ! เรารู้สึกว่ายาก จึงไม่กล่าวธรรมอันประณีต ที่เราคล่องแคล่วชำนาญ ในหมู่มนุษย์ ทั้งหลาย ดังนี้.

ราชกุมาร ! ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม รู้ว่า ตนเป็นผู้ได้โอกาสอันพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำแล้วเพื่อแสดงธรรม, จึงไหว้เรากระทำอันประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้น นั่นเอง.

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๖๙

(บาลี) ม.. ๑๓/๔๖๓/๕๑๑. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today500
Yesterday684
This week4051
This month14069
Total2521374

Who Is Online

91
Online