Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เมื่อจิตตั้งมั่นในฌาน ๑ ถึง ๔ แล้ว จะเห็นเกิด-ดับน้อยลงหรือไม่

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4mp3


 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เหน็ กายในกายอยู่เป็นประจำก็ดี;

เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำก็ดี;

เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำก็ดี;

เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำก็ดี; มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้;

สมัยนั้นสติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว; สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์; สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ; ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา, สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา,สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,

สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์,

สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว, สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,

สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ

ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ, สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,

สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์,

สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำ งับแล้ว มีความสุขอยู่จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น, สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,

สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์,

สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี, สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,

สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์,

สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ให้บริบูรณ์ได้.

โพชฌงค์บริบูรณ์ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย)อันอาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ,ความปล่อย);

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้, ดังนี้.

(หมายเหตุผู้รวบรวม : พระสูตรที่ทรงตรัสเหมือนกันกับพระสูตร

ข้างบนนี้ ยังมีอีกคือ ปฐมอานันทสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๗-๔๒๓/๑๓๘๑

-๑๓๙๘. ทุติยอานันทสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๓-๔๒๔/๑๓๙๙-๑๔๐๑.

ทุติยภิกขุสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๕/๑๔๐๔-๑๔๐๕.)

 

พุทธวจน ฉบับ ๖ อานนสติ  หน้า ๑๘.

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๔๐/๑๔๐๒-๑๔๐๓.: คลิกดูพระสูตร

 

 

[หมวดธัมมานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ควมไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ควมจงคลยอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ควมดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ควมสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า

เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย !  สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น

ผู้เห็น ธรรมในธรรมทั้งหลยอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุนั้น

เป็นผู้เข้ไป เพ่งเฉพะเป็นอย่งดีแล้ว เพร

เธอเห็นกละอภิชฌและโทมนัสทั้งหลยของเธอนั้นด้วยปัญญ.

ภิกษุทั้งหลาย !  เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า

เป็นผู้เห็น ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  อนสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่งนี้ ทำให้มกแล้วอย่งนี้แล ชื่อว่ทำสติปัฏฐนทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.

พุทธวจน อานนสติ  หน้า ๓๔.

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๕/๒๘๘. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

โปฏฐปาทะ !  ภิกษุนั้น

เพราะ  สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย  

เข้าถึง  ปฐมฌาน  อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.

ในกาลก่อน สัญญาในกาม ของเธอนั้น ย่อมดับไป

ในสมัยนั้น  สัจจสัญญาอันละเอียด ในปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก ย่อมเกิดขึ้น

ในสมัยนั้น  เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด  ในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก    

เพราะการศึกษาอย่างนี้

ในสมัยนั้น  สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป

แม้นี้  ก็เป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง.

โปฏฐปาทะ !  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุ

เพราะ  วิตกวิจารระงับไป   

เข้าถึง  ทุติยฌน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน

เพราะ  ธรรมอันเอก คือ สมาธิ ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

มีปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

ในกาลก่อน สัจจสัญญาอันละเอียด ในปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก  ย่อมดับไป

ในสมัยนั้น  สัจจสัญญาอันละเอียด ในปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น

ในสมัยนั้น  เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ในปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ    

เพราะการศึกษาอย่างนี้

ในสมัยนั้น  สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป

แม้นี้  ก็เป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง.

โปฏฐปาทะ !  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุ

เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็น

ผู้อยู่  อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย (สุขญฺจ กาเยน)

ชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า

ผู้นั้น  เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข,

เข้าถึง ตติยฌน แล้วแลอยู่

ในกาลก่อน สัจจสัญญาอันละเอียด ในปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ ย่อมดับไป

ในสมัยนั้น  สัจจสัญญาอันละเอียด ในอุเบกขาสุข ย่อมเกิดขึ้น

ในสมัยนั้น  เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ในอุเบกขาสุข

เพราะการศึกษาอย่างนี้

ในสมัยนั้น  สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป

แม้นี้  ก็เป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง.

โปฏฐปาทะ !  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุ

เพราะ ละสุขและทุกข์เสียได้

เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เราพึง

เข้าถึง  จตุตถฌน  อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข 

มีแต่   ความบริสุทธิ์ แห่งสติ

เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่ เถิดดังนี้แล้วไซร้;

นสติสมธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ ในใจให้เป็นอย่งดี.

ในกาลก่อน สัจจสัญญาอันละเอียด ในอุเบกขาสุข ย่อมดับไป

ในสมัยนั้น  สัจจสัญญาอันละเอียด ในอทุกขมสุข ย่อมเกิดขึ้น

ในสมัยนั้น  เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด ในอทุกขมสุข

เพราะการศึกษาอย่างนี้

ในสมัยนั้น  สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป

แม้นี้  ก็เป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย  หน้า ๑๓๖๓.

(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๒๖๕/๒๗๙-๒๘๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ  เหล่านี้  มีอยู่. 

เก้าประการ  อย่างไรเล่า ?  เก้าประการ  คือ:-

 (๑) เมื่อเข้าถึง (เกิด) ปฐมฌาน    อามิส (กาม,อกุศลธรรมทั้งหลาย) สัญญา ย่อมดับ

(๒) เมื่อเข้าถึง (เกิด) ทุติยฌาน    วิตกและวิจาร ย่อมดับ (ปฐมฌานดับ)

(๓) เมื่อเข้าถึง (เกิด) ตติยฌาน    ปีติ ย่อมดับ (ทุติยฌานดับ)   

(๔) เมื่อเข้าถึง (เกิด) จตุตถฌาน  อัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมดับ (ตติยฌานดับ)   

(๕) เมื่อเข้าถึง (เกิด) อากาสานัญจายตนะ  รูปสัญญา ย่อมดับ (จตุตถฌานดับ) 

(๖) เมื่อเข้าถึง (เกิด) วิญญาณัญจายตนะ    อากาสานัญจายตนสัญญ ย่อมดับ

(๗) เมื่อเข้าถึง (เกิด) อากิญจัญญายตนะ    วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ

(๘) เมื่อเข้าถึง (เกิด) เนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ

(๙) เมื่อเข้าถึง (เกิด) สัญญาเวทยิตนิโรธ     สัญญาและเวทนา ย่อมดับ.

                                                             (เนวสัญญานาสัญญายตนะดับ)

ภิกษุทั้งหลาย !  เหล่านี้แล  อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น  หน้า ๕๒๒.

(ภาษาไทย) นวก. อํ. ๒๓/๓๓๑/๒๓๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 
Today226
Yesterday721
This week4701
This month13247
Total2463014

Who Is Online

14
Online