Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เมื่อเห็นเกิด-ดับ ในขันธ์ทั้ง ๕ แล้ว ทำอย่างไรจึงจะเบื่อ จนหลุดพ้น

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3


 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ลําแมน้ำคงคา ลุมไปทางทิศตะวันออก ลาดไปทางทิศตะวันออก  เทไปสูทิศตะวันออก  ขอนี้แมฉันใด ;

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุ   อบรมอินทรียหาอยู กระทําอินทรียหาใหมากอยู ก็ยอมเปนผู  ลุมไปทางนิพพาน  ลาดไปทางนิพพาน  เทไปสูนิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุ อบรมอินทรียหา กระทําอินทรียหาใหมากอยู ยอมเปน ผูลุมไปทางนิพพาน ลาดไปทางนิพพาน เทไปสูนิพพาน เปนอยางไรเลา ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ยอม  อบรมอินทรีย  คือ  สัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ และปญญา,   ชนิดที่  อาศัยวิเวก  อาศัยวิราคะ  อาศัยนิโรธ   นอมไป สูความปลอยวาง.

ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์  หน้า ๒๙๖.

(ภาษาไทย) สํ. ๑๙/๒๖๑/๑๐๘๒-๑๐๘๓.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนต้นไม้ เมื่อสมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบแล้ว สะเก็ดเปลือกนอก ก็บริบูรณ์; เปลือกชั้นใน ก็บริบูรณ์; กระพี้ ก็บริบูรณ์; แก่น ก็บริบูรณ์ นี้ฉันใด;

ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อ อินทรียสังวร
มีอยู่, ศีล  ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย;
เมื่อ ศีล มีอยู่, สัมมาสมาธิ ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย;
เมื่อ สัมมาสมาธิ มีอยู่, ยถาภูตญาณทัสสนะ ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย;
เมื่อ ยถาภูตญาณทัสนะ มีอยู่, นิพพิทาวิราคะ ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย;
เมื่อ นิพพิทาวิราคะ มีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ
ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย;
ฉันนั้น เหมือนกันแล.

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)  หน้า ๗๔.

(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๒๗/๓๒๑. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอ  ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว  อวิชชาย่อมละไป  วิชชาย่อมเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?”

ภิกษุ ! เมื่อภิกษุ รูอยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดย ความเป็นของไม่เที่ยง, อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น;

เมื่อภิกษุ รูอยู่เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย ...ฯลฯ...;

เมื่อภิกษุ รูอยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุวิญญาณ ...ฯลฯ...;

เมื่อภิกษุ รูอยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุสัมผัส ...ฯลฯ...;

เมื่อภิกษุ รูอยู่เห็นอยู่ ซึ่งเวทนา อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ  จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยควมเป็นของไม่เที่ยง, อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น;

(ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน ทุกหมวด มีข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรูอยู่อย่งนี้  เห็นอยู่อย่งนี้ อวิชชจึงจะละไป วิชชจึงจะเกิดขึ้น.

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย  หน้า ๘๙.

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๔๙/๙๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุในกรณีนี้  ย่อมเจริญ

ซึ่ง สติสัมโพชฌงค์...  ซึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...  ซึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์...

ซึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์...  ซึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...   ซึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์...

ซึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์  อัน (แต่ละอย่างๆ)

อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย !  นี้เรากล่าวว่า ภาวนาปธาน.

 

พุทธวจน อินทรีย์สังวร  หน้า ๕๙.

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕/๑๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ)

อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ, ความปล่อย);

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ

อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้, ดังนี้.

 

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๒-๑๔๐๓.

(หมายเหตุผู้รวบรวม : พระสูตรที่ทรงตรัสเหมือนกันกับพระสูตรข้างบนนี้

ยังมีอีกคือ ปฐมอานันทสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๗-๔๒๓/๑๓๘๑-๑๓๙๘.

ทุติยอานันทสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๓-๔๒๔/๑๓๙๙-๑๔๐๑. ทุติยภิกขุสูตร

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๕/๑๔๐๔-๑๔๐๕.).

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย  หน้า ๕๑.

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๙/๑๓๙๘. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด  เมื่อตามระลึก  ย่อมตามระลึกถึง ชาติก่อน ได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด  ย่อมตามระลึกถึง

ซึ่ง อุปาทานขันธ์ทั้งห้า หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้านั้น. 

ห้าอย่างไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุทั้งหลาย !  เขาเมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงซึ่งรูปนั่นเทียวว่า

ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ดังนี้บ้าง;

ภิกษุทั้งหลาย !  เขาเมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงซึ่งเวทนานั่นเทียวว่า

ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้ดังนี้บ้าง;

ภิกษุทั้งหลาย !  เขาเมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงซึ่งสัญญานั่นเทียวว่า

ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ดังนี้บ้าง;

ภิกษุทั้งหลาย !  เขาเมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงซึ่งสังขารนั่นเทียวว่า

ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้ดังนี้บ้าง;

ภิกษุทั้งหลาย !  เขาเมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงซึ่งวิญญาณนั่นเทียวว่า

ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้ดังนี้บ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย !  ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า รูป ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย (รุปฺปติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป.

สลายเพราะอะไร ? สลายเพราะความเย็นบ้าง เพราะความร้อนบ้าง

เพราะความหิวบ้าง เพราะความระหายบ้าง

เพราะการสัมผัสกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้นย่อมสลายเหตุนั้นจึงเรียกว่ารูป.

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่าเวทนา ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ (เวทยติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา. รู้สึกซึ่งอะไร ?   รู้สึกซึ่งสุขบ้าง  ซึ่งทุกข์บ้าง  ซึ่งอทุกขมสุขบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้นอันบุคคลรู้สึกได้เหตุนั้นจึงเรียกว่าเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย !  ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สัญญา ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สฺชานาติ)

เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา. หมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ? หมายรู้

ด้พร้อมซึ่งสีเขียวบ้าง ซึ่งสีเหลืองบ้าง ซึ่งสีแดงบ้าง ซึ่งสีขาวบ้าง. 

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้นย่อมหมายรู้ได้พร้อมเหตุนั้นจึงเรียกว่าสัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย !  ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สังขาร ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่ง (อภิสงฺขโรนฺติ) ให้เป็นของปรุงแต่ง

เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร. ปรุงแต่งอะไรให้เป็นของปรุงแต่ง ?

ปรุงแต่ง รูปให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นรูป

ปรุงแต่ง เวทนาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นเวทนา

ปรุงแต่ง สัญญาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสัญญา

ปรุงแต่ง สังขารให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสังขาร

ปรุงแต่ง วิญญาณให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้นย่อมปรุงแต่งให้เป็นของปรุงแต่ง

เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร.

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า วิญญาณ ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง (วิชานาติ)

เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ. รู้แจ้งซึ่งอะไร ?

 รู้แจ้ง  ซึ่งความเปรี้ยวบ้าง ซึ่งความขมบ้าง   ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง ซึ่งความหวานบ้าง ซึ่งความขื่นบ้าง  ซึ่งความไม่ขื่นบ้าง ซึ่งความเค็มบ้าง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมชาตินั้นย่อมรู้แจ้งเหตุนั้นจึงเรียกว่าวิญญาณ.

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ในขันธ์ทั้งห้านั้นอริยสาวกผู้มีการสดับ

ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ชัดดังนี้ว่า

ในกาลนี้ เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่, แม้ในอดีตกาลนานไกล

เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยว

กินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น. ถ้าเราเพลิดเพลินรูปในอนาคต,

แม้ในอนาคตนานไกล  เราก็จะถูกรูปเคี้ยวกิน  เหมือนกับที่เรา

ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น”. 

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว

ย่อมเป็น  ผู้ไม่เพ่งต่อรูปอันเป็นอดีต

ย่อมเป็น  ผู้ไม่เพลิดเพลินรูปอนาคต

ย่อมเป็น  ผู้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัดดับไม่เหลือแห่งรูปอันเป็นปัจจุบัน.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกันแล้วตรัสต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย !  เธอจะสำคัญความสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร

รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”.

สิ่งใดที่ไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”.

สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือหนอ?ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า

นั่นของเรานั่นเป็นเรานั่นเป็นอัตตาของเราดังนี้.

ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !

 

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการถามตอบแบบเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย !  เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน

มีในภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม

เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม

รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เป็นเรานั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกันแล้วตรัสต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า

เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ; ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา;

ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง;

ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง.

อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?

เธอ ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่ง เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?

เธอ ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่รูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร?

เธอ ย่อมทำให้กระจัดกระจาย  ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง  ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

 

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?

เธอ ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้

ย่อม  เบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ.

เมื่อ   เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด,

เพราะ ความคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น,

เมื่อ   หลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุ (ผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว) นี้ เราเรียกว่า  ไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่

แต่เป็นอันว่า ยุบแล้ว-ดำรงอยู่;

ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่  แต่เป็นอันว่า ขว้างทิ้งแล้ว-ดำรงอยู่;

ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่

แต่เป็นอันว่า ทำให้กระจัดกระจายแล้ว ดำรงอยู่;

ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่

แต่เป็นอันว่า ทำให้มอดแล้ว-ดำรงอยู่.

 

ภิกษุนั้น ไม่ก่ออยู่  ไม่ยุบอยู่แต่เป็นอันว่า ยุบ ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่?

เธอ ไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่  แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่ไม่ถือเอาอยู่แต่เป็นอันว่า ขว้างทิ้ง ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่?

เธอไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่า

ขว้างทิ้ง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

ภิกษุนั้น ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่  ไม่ทำให้เป็นกองอยู่แต่เป็นอันว่า ทำให้กระจัดกระจาย ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่?

เธอไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้วดำรงอยู่.

 

ภิกษุนั้น  ไม่ทำให้มอดอยู่ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่แต่เป็นอันว่าทำให้มอด ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่?

เธอไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่า ทำให้มอด ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

 

ภิกษุทั้งหลาย !  เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี

ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกลเทียว กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน

เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่าน อาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน ดังนี้.

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)  หน้า ๙๙.

(ภาษาไทย ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๑๐/๑๕๘-๑๖๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 
Today206
Yesterday429
This week1948
This month1097
Total2359091

Who Is Online

12
Online