Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ขอคำอธิบายเกี่ยวกับ คุณสมบัติและลักษณะปฏิจจสมุปบาทของ ตถตา, อนัญญถตา, อวิตถตา และ อิทัปปัจจยตา

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ วันที่ 16 มี.ค. 56

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

  

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย.

พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์,  เราจักกล่าวบัดนี้......

  

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !   ก็ปฏิจจสมุปบาท   เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !   เพราะชาติเป็นปัจจัย   ชรามรณะย่อมมี.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เพราะภพเป็นปัจจัย   ชาติย่อมมี.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย  อุปาทานย่อมมี.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย   ตัณหาย่อมมี.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  เวทนาย่อมมี.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย   ผัสสะย่อมมี.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะนามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะย่อมมี.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,

จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;

คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,

คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,

คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น;

ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,

ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย

ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

 

          “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงมาดู :

          เพราะชาติเป็นปัจจัย   ชรามรณะย่อมมี ฯลฯ ........

          เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น

อันเป็น  ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,

เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,

เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,

เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

(คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๓-๕๒

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑. : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒/๖๑. : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุ ท. !  สิ่งที่ใช้เป็นพืชมีห้าอย่างเหล่านี้.   ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ?

ห้าอย่างคือ

พืชจากเหง้า (มูลพีช ),  

พืชจากต้น (ขนฺธพีช),  

พืชจากตา (ผลุพีช),

พืชจากยอด   (อคฺคพีช), และ

พืชจากเมล็ด (เช่นข้าวเป็นต้น)  

เป็นคำรบห้า (พีชพีช).

 

ภิกษุ ท. ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้   ที่ไม่ถูกทำลาย   ยังไม่เน่าเปื่อย  ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด  

ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่   และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี, แต่ดิน น้ำ ไม่มี.   

 

ภิกษุ ท. ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านั้น   จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์   ได้แลหรือ ?

          “หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า!”

 

 ภิกษุ ท. !  ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย   

ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี, ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย. 

 

ภิกษุ  ท. !  สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านั้นจะพึงเจริญ  งอกงาม  ไพบูลย์  ได้มิใช่หรือ ?

          “อย่างนั้น พระเจ้าข้า!”

 

ภิกษุ ท. ! วิญญาณฐิติ สี่อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่าเหมือนกับ  ดิน.

ภิกษุ  ท. !  นันทิราคะ พึงเห็นว่าเหมือนกับ  น้ำ.

ภิกษุ ท. !  วิญญาณ  ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย  (คือกรรม) พึงเห็นว่าเหมือนกับพืชสดทั้งห้านั้น.

 

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา รูป  ตั้งอยู่   ก็ตั้งอยู่ได้,  เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์  

มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย  มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ   ก็ถึงความเจริญ  งอกงาม  ไพบูลย์  ได้ ;

 

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา เวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์

มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถือความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้ ;

 

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา  สัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,   เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์  

มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

 

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์  

มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

 

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้  ว่า  “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป   การจุติ    การอุบัติ ความเจริญ  

ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ   โดยเว้นจาก

รูป   เว้นจากเวทนา   เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น,  

นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๒๐๕-๒๐๗

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖-๑๐๗. : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔/๑๐๖-๑๐๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

Today1013
Yesterday1254
This week5818
This month15836
Total2523141

Who Is Online

123
Online