Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เมื่อได้โสดาปัตติมรรคแล้วทำอย่างไรจึงจะได้โสดาปัตติผล

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์  วันที่ 5 มี.ค. 54
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้เองจึงเป็นพระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเที่ยงแท้ต่อพระนิพพานเป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.

ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นอย่างไร ? ๔ ประการนั้นคือ : -

(๑)       ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้าว่า   เพราะเหตุอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งวิชชาเป็นผู้ไปแล้วด้วยดีเป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้งเป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรมเป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.

(๒)      ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว  ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในองค์พระธรรมว่า  พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนดังนี้.

(๓)       ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า   สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้วเป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้วเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้วอันได้แก่บุคคลเหล่านี้คือคู่แห่งบุรุษสี่คู่นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ. นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชาเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับเป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทานเป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลีเป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้.

(๔)      ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุไม่ด่างไม่พร้อยเป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหาเป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญเป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำและเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิดังนี้.

          ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลชื่อว่าเป็นพระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเที่ยงแท้ต่อพระนิพพานเป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.

 คู่มือโสดาบัน หน้า๔

(ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๔๕/๑๔๑๔-๑๔๑๕:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙/๑๔๑๔-๑๔๑๕:คลิกดูพระสูตร

 

                    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ญาณวัตถุ๔๔อย่างเป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ๔๔อย่างคือ :-


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในชรามรณะ; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในชาติ; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในภพ; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งภพ; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในอุปาทาน; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในตัณหา; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในเวทนา; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในผัสสะ; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในสฬายตนะ; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ;


(หมวด)
. ญาณคือความรู้ในนามรูป; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;


(หมวด๑๐)
. ญาณคือความรู้ในวิญญาณ; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;


(หมวด๑๑)
. ญาณคือความรู้ในสังขารทั้งหลาย; . ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร; . ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; . ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร

           ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง.
 

(ไทย)นิทาน. สํ. ๑๖/๕๒-๕๕/๑๑๘-๑๒๕









:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)นิทานสํ๑๖/๖๗-๗๐/๑๑๘-๑๒๕









:คลิกดูพระสูตร

                 
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ญาณวัตถุ๗๗อย่างเป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ๗๗อย่างนั้นคือ :-
 


(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;



(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปทาน; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;



(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;



(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;



(หมวด)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด๑๐)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวดที่๑๑)
 
. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; . ญาณคือความรู้ว่าเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; . ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา.
 
 
 


ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ๗๗อย่างดังนี้แล.
 
 



(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๕๓-๕๖/๑๒๖-๑๒๗:คลิกดูพระสูตร












(บาลีนิทานสํ๑๖/๖๗-๗๐/๑๒๖-๑๒๗:









คลิกดูพระสูตร

ภิกษุทั้งหลาย

. ภิกษุเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลตามกาลอันควรอยู่เป็นความถูกต้อง.

ภิกษุเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลตามกาลอันควรอยู่เป็นความถูกต้อง.

ภิกษุเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่เป็นความถูกต้อง.

ภิกษุเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลตามกาลอันควรอยู่เป็นความถูกต้อง.

. ภิกษุเว้นขาดจากความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่างเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะตามกาลอันควรอยู่เป็นความถูกต้อง

...............

ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่าภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่?

ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า "ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ" ดังนี้ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่

. ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่าภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่?

ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า "โทสะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ" ดังนี้ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่

. ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่าภิกษุจึง

เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลอยู่?

ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า "ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะโทสะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ" ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่.


. ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่าภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่

ปฏิกูลอยู่?

ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่าโทสะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ

ราคะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะดังนี้ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ .


. ภิกษุ ! ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่าภิกษุจึงเว้นขาดความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่างเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะอยู่?

ภิกษุ ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า "ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะในส่วนไหนๆในที่ไรๆชนิดไรๆ. โทสะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะในส่วนไหนๆในที่ไรๆชนิดไรๆ โมหะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะในส่วนไหนๆในที่ไรๆ ชนิดไรๆดังนี้ภิกษุจึงเว้นขาดจากความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่างเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะอยู่, ดังนี้แล.

 

        (ไทย) ปญจก.อํ ๒๒/๑๕๒/๑๔๔:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ปญจก.อํ ๒๒/๑๘๙/๑๔๔:คลิกดูพระสูตร

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today585
Yesterday684
This week4136
This month14154
Total2521459

Who Is Online

74
Online