Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ทำไมต้องเป็นโสดาบัน

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

โรงเรียนเสนาธิการทหารบก 21 พ.ย. 56
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

การเป็นโสดาบัน

เมื่อหม่อมฉันกล่าวตอบอย่างนี้แล้วเจ้าโคธาศากยะได้ตรัสกะหม่อมฉันว่า

จงรอก่อน มหานาม จงรอก่อน มหานาม พระผู้มีพระภาคเท่านั้นจะพึงทรงทราบเรื่องนี้ว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ หรือมิใช่ที่เป็นพระโสดาบัน?

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์(กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำ หม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

        ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ (กล่าว) ฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น.

ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ และอุบาสกทั้งหลาย (กล่าว) ฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น.

ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย (กล่าว) ฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัสหม่อมฉัน เป็นฝ่ายนั้น ...

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ (กล่าว) ฝ่ายใดระผู้มี พระภาคตรัส หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อม ตรัสอะไรกะพระเจ้ามหานามศากยราช

เจ้าโคธาศากยะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญหม่อมฉันผู้มีวาทะอย่างนี้ มิได้พูด อะไรกะพระเจ้ามหานามศากยราช นอกจากกัลยาณธรรม นอกจากกุศล.

 

(ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๗๒/๑๕๒๐ : คลิกดูพระสูตร

                                          (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๖๙/๑๕๒๐ : คลิกดูพระสูตร

 

ความยากในการเกิดเป็นมนุษย์

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ที่ปลายพระนขา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ที่ปลายเล็บนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนมากกว่ากัน ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่นแหละมากกว่าฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขานี้ มีประมาณน้อยย่อมไม่ถึงแม้ซึ่ง การนับ ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งการเทียบเคียง ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งเสี้ยว เพราะเทียบ มหาปฐพีเข้าแล้ว ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขา มีประมาณเล็กน้อย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีประมาณน้อย  สัตว์ไปเกิด ในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มีมากกว่ามากทีเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้นเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละฯ

 

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๖๖/๖๖๓: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐๗/๖๖๓: คลิกดูพระสูตร

 

 

โสดาบันเกิดอีกไม่เกิน ๗ คราว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่กุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉน คือ

อธิศีลสิกขา ๑

อธิจิตตสิกขา ๑

อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แลที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อย บ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็น คนอาภัพ เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย เธอเป็น พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์อย่างมากเจ็ดครั้ง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ท่องเที่ยว ไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาเกิดยัง ภพนี้ภพเดียวเท่านั้นแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป

เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อย บ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็น คนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้ บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ

(ไทย) เอก.ทุก.อํ ๒๐/๒๒๒/๕๒๗: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) เอก.ทุก.อํ ๒๐/๒๙๙/๕๒๗: คลิกดูพระสูตร

 

 

ธรรม ๘ ประการ

ธรรม ๘ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่ กาลที่มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรกเสีย นี้เป็นกาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ฯ

อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้เป็นกาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒ ฯ

อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึง ปิตติวิสัยเสีย นี้เป็นการมิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ฯ

อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย ซึ่งมีอายุยืนอย่างใดอย่างหนึ่งเสีย นี้เป็นกาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ฯ

อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เกิดใน ปัจจันตชนบท อันเป็นถิ่นของชนมิลักขะผู้ไม่รู้ความ ซึ่งมิใช่คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕ ฯ

อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึง ความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดใน มัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นผิดไปว่า ทานที่บุคคลให้แล้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้ และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ ไม่มีในโลกนี้ นี้เป็น กาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖ ฯ

อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึง ความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดใน มัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นใบ้ไม่สามารถจะรู้ เนื้อความของถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้เป็นกาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ฯ

อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติในโลก และพระองค์ยังไม่ทรงแสดงธรรมเป็นไป เพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท และเขาเป็นคนมีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้ สามารถจะรู้ เนื้อความของถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้เป็นกาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘ ฯ

ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ

 

(ไทย) ปา.ที. ๑๑/๒๗๕/๔๕๐: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ปา.ที. ๑๑/๓๒๓/๔๕๐: คลิกดูพระสูตร

 

 

เต่าตาบอดกับแอกไม้ไผ่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอก ซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้น คราวหนึ่ง ๆ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอก ซึ่งมี ช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ?  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไปบางครั้งบางคราว เต่าจะสอดคอให้เข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ สอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เราย่อมกล่าว ความ เป็นมนุษย์ เพราะคนพาลผู้ไปสู่วินิบาตแล้วคราวเดียวก็หามิได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร?  เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการประพฤติธรรม การประพฤติชอบ การกระทำกุศล  การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกันและกัน การเคี้ยวกิน ผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไปในวินิบาตนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?  คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

 

(ไทย) มหาวาร . สํ ๑๙/๔๔๗/๑๗๔๓ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหาวาร . สํ ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๓ : คลิกดูพระสูตร

 

  

อุปมาความยาวนานของอายุสัตว์นรก

ครั้งนั้นแล ภิกษุ ชื่อโกกาลิกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงยังจิตให้เสื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคืนนี้เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมผู้มีวรรณะสง่างาม ยังวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสวเข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโกกาลิกภิกษุกระทำกาละแล้ว เกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้ อาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกล่าวคำนี้แล้ว อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก ประมาณอายุในปทุมนรกนั้นยากที่จะกระทำการกำหนดนับได้ว่าประมาณเท่านี้ปี ประมาณร้อยปีเท่านี้ ประมาณพันปีเท่านี้ หรือประมาณแสนปีเท่านี้ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์อาจเพื่อจะทำการเปรียบเทียบได้หรือ พระ พุทธเจ้าข้าฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อาจอยู่ภิกษุ แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือน หนึ่งเกวียนเมล็ดงาของชนชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี เมื่อล่วงไปแสนปี บุรุษนำ เอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งออกจากเกวียนนั้น

ดูกรภิกษุ เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น พึงถึงความสิ้นไปหมดไปโดยทำนองนี้ เร็วกว่านั่นยังไม่ถึงหนึ่งอัพพุทะในนรกเลย

ภิกษุทั้งหลาย !

๒๐ อัพพุทนรก เป็น       ๑ นิรัพพุทนรก

๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น     ๑ อัพพนรก

๒๐ อัพพนรก เป็น         ๑ อหหนรก

๒๐ อหหนรก เป็น          ๑ อฏฏนรก

๒๐ อฏฏนรก เป็น          ๑ กุมุทนรก

๒๐ กุมุทนรก เป็น          ๑ โสคันธิกนรก

๒๐ โสคันธิกนรก เป็น    ๑ อุปลกนรก

๒๐ อุปลกนรก เป็น        ๑ ปุณฑรีกนรก

๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น    ๑ ปทุมนรก

อย่างนี้ ก็โกกาลิกภิกษุอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตใน      สารีบุตรและโมคคัลลานะ.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอนตนเอง ของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุภาษิต ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทา คนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปากย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การแพ้ด้วยทรัพย์เพราะเล่นการพนัน เป็นโทษเพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีนี้แล เป็นโทษมากกว่า

บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาปไว้แล้ว เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล ประมาณด้วยการนับปี ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ.

 

หนังสือภพภูมิ หน้า ๘๙

(ไทย) ทสก.อํ. ๒๔/๑๔๗/๘๙ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ทสก.อํ. ๒๔/๑๘๑/๘๙ : คลิกดูพระสูตร 

 

 

 น้ำตาที่เคยร้องไห้ตลอดสังสารวัฏฏ์

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยว ไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจาก สิ่งที่พอใจโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวก ข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนาน นี้แหละ มากกว่าส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบ มรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละ มากกว่าส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของพี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ...ความเสื่อม แห่งโภคะ ... ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหล ออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขาร ทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๗๘/๔๒๕-๔๒๖ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๓/๔๒๕-๔๒๖ : คลิกดูพระสูตร

 

 

โสดาบันอยู่ครองเรือน

ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน

มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ จำแนกทาน อยู่ครองเรือน

ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ก็ไทยธรรมสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีอยู่ในตระกูลท่านทั้งหลายเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมด กับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เหมือนว่าพวกมนุษย์ในแคว้นโกศลมีเท่าไร ท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปันให้เท่าๆ กัน. 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบพฤติการณ์อย่างนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.

 

(ไทย) มหาวาร . สํ. ๑๙/๓๕๒/๑๔๕๒ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหาวาร . สํ. ๑๙/๔๔๐/๑๔๕๒ : คลิกดูพระสูตร

 

 

Today351
Yesterday425
This week2974
This month2123
Total2360117

Who Is Online

11
Online