Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

พระพุทธองค์อธิบายตอนจะตรัสรู้ธรรมไว้อย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

 

บางส่วนจากการแสดงธรรม ณ ยุวพุทธธิกสมาคม  8 ส.ค. 55

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

         ภิกษุ ท. !  โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร 

จึงทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุ ท. !  ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเจริญ

สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละลง) ;

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;

วิริยสัมโพชฌงค์  อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;

ปีติสัมโพชฌงค์  อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;

สมาธิสัมโพชฌงค์  อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;

อุเบกขาสัมโพชฌงค์  อันอาศัยวิเวก  อันอาศัยวิราคะ  อันอาศัยนิโรธ  อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;

ภิกษุ ท. !  โพชฌงค์ทั้งเจ็ด  อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล 

ชื่อว่าทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้, ดังนี้.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๘๑๓ – ๘๑๔

(ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๖๐/๒๙๑:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๑–๒๐๒ /๒๙๑:คลิกดูพระสูตร

อานนท์ !    อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ  (อนุตฺตรา  อินฺทฺริยภาวนา)   ในอริยวินัย   เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ !    ในกรณีนี้  อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ  - ไม่เป็นที่ชอบใจ - เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ  เกิดขึ้นแก่ภิกษุ  เพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)  เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก)  เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคืออุเบกขา” ดังนี้.  (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)  อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ  – เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ   อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น   ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ !    อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อม ดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงเหลืออยู่.

อานนท์ !    นี้แล  เราเรียกว่า  อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัยในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๑๔๓๐ – ๑๔๓๑

(ไทย) ม.อุ. ๑๔/๔๐๙/๘๕๖:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ม.อุ. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖:คลิกดูพระสูตร


 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today127
Yesterday425
This week2750
This month1899
Total2359893

Who Is Online

8
Online