Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การตอบแทนบุญคุณผู้ที่ดูแลเลี้ยงดูเรามา จะปฎิบัติแบบใด สำหรับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและสำหรับผู้ที่ยังมีชีวิต เช่น พ่อ เเม่ ครู อาจารย์จะปฎิบัติแบบใดให้ท่านได้ทราบตามหลักพุทธวจน

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

 

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

หน้ที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้

คหบดีบุตร !   ทิศเบื้องหน้ คือ มรดบิด อันบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐนะ ๕ ประกคือ :-

ท่านเลี้ยงเราแล้ว เราจักเลี้ยงท่าน ๑

เราจักทำกิจของท่าน ๑

เราจักดำรงวงศ์สกุล ๑

เราจักปฏิบัติตนเป็นทายาท ๑

เมื่อท่านทำกาละล่วงลับไปแล้ว เราจักกระทำทักษิณาอุทิศท่าน ๑

 

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๑๐

(ภาษาไทย) ปา. ที. ๑๑/๑๔๔/๑๙๙ : คลิกดูพระสูตร

 

นิวรณ์เป็นเครื่องทำกระแสจิต ไม่ให้รวมกำลัง

ภิกษุทั้งหลาย ! นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่าง เหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้วทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่.

๕ อย่าง อย่างไรเล่า ? ๕ อย่าง คือ: -

. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาซึมเซา) ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญ) ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;

. นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา (ความลังเล, สงสัย) ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดพาสิ่งต่าง ๆ ไปได้ มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งต่าง ๆ ไปได้, นี้ฉันใด;

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

อานาปานสติ หน้า ๑๓๐

(ภาษาไทย)  ปญฺจก. อํ. ๒๒/๕๖/๕๑ : คลิกดูพระสูตร

 

การเจริญเมตตา

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดํารงอยู่ด้วยดีในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว (นิวรณ์ ๕) จักไม่ครอบงําจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอ เป็นจิตตั้งมั่น ดํารงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว(นิวรณ์ ๕) ไม่ครอบงําจิตได้

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจาก อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้น

เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

สาธยายธรรม หน้า ๑๐๐

(ภาษาไทย)    มู. ม. ๑๒/๓๖๒/๔๘๒ : คลิกดูพระสูตร

 

รตอบแทนคุณมรดบิดอย่งสูงสุด

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง.        ท่านทั้งสอง คือใคร ? คือ มรด ๑ บิด

ส่วนบุตรคนใด ยังมรดบิดผู้ไม่มีศรัทธ ให้สมนตั้งมั่นในสัทธสัมปท (ควมถึงพร้อมด้วยศรัทธ)          ยังมรดบิดผู้ทุศีล ให้สมนตั้งมั่นใน สีลสัมปท (ควมถึงพร้อมด้วยศีล) ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา (ควมถึงพร้อมด้วยกรบริจค)          ยังมรดบิดทรมปัญญ ให้สมนตั้งมั่นในปัญญสัมปท (ควมถึงพร้อมด้วยปัญญ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุมีประมณเท่นี้แล กรกระทำอย่งนั้น ย่อมชื่อว่อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มรดบิด.

ฆราวาสชั้นเลิศหน้า ๑๗

(ภาษาไทย) ทุก. อํ. ๒๐/๕๘/๒๗๘ : คลิกดูพระสูตร

จงสงเคระห์ผู้อื่นด้วยกรให้รู้อริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม;

ชนเหล่นั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้ไปตั้งมั่น ในควมจริงอันประเสริฐสี่ประกร ด้วยปัญญอันรู้เฉพะตมที่เป็นจริง.

ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ? สี่ประการคือ :-

ควมจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์, ควมจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์, ควมจริงอันประเสริฐคือ ควมดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และควมจริงอันประเสริฐคือ ทงดำเนินให้ถึงควมดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์...

ตามรอยธรรม หน้า ๑๑

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๑/๑๗๐๖. : คลิกดูพระสูตร

 

จงสงเคระห์ผู้อื่นด้วยกรให้รู้สติปัฏฐาน ๔

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม;

ชนเหล่นั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้ไปตั้งมั่น        อยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน๔ สี่ประการอะไรเล่า ? สี่ประการคือ :-

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตาม เห็นกายในกาย ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้ เป็นผู้ตาม เห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้ เป็นผู้ตาม เห็นจิตในจิต ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้          เป็นผู้ตาม เห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๒๗๗

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๐๗/๘๓๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 
Today83
Yesterday408
This week1870
This month6901
Total2364895

Who Is Online

10
Online