Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ผลและอานิสงส์ของทาน ต่างกันอย่างไร, ในการให้ทานควรวางจิตอย่างไร, การให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เป็นอย่างไร, การให้ทานของโสดาบัน คืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

วีดีโอ2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

วีดีโอ3

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

เสียง

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ผลจากการวางจิตเมื่อให้ทาน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ? อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้ เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ... เขาให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดีเขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดาวดึงส์ เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดีแต่ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่ายามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนก แจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ เขาให้ทาน คือ ข้าว นํ้า ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่านิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว นํ้า ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว นํ้า ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าพรหมกายิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

สารีบุตร ! นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

ภพภูมิ หน้า ๒๔๘

(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๕๔/๔๙. : คลิกดูพระสูตร

คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒)

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :- อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

() ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

() ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

() ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์

() มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน.

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

คู่มือโสดาบัน หน้า ๒๑๕

มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๕๒/๑๔๕๑. : คลิกดูพระสูตร

ห้ามผู้อื่นให้ทาน ชื่อว่าไม่ใช่มิตร

วัจฉะ ! ผู้ใดห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่า เป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง คือ :-

ทำอันตรายต่อบุญของทายก (ผู้ให้ทาน),

ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก (ผู้รับทาน),

และตัวเองก็ขุดรากตัวเองกำจัดตัวเองเสียตั้งแต่แรกแล้ว.

วัจฉะ ! ผู้ที่ห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง ดังนี้แล.

วัจฉะ ! เราเองย่อมกล่าวอย่างนี้ว่าผู้ใดเทน้ำล้างหม้อ หรือน้ำล้างชามก็ตาม ลงในหลุมน้ำครำ หรือทางน้ำโสโครก ซึ่งมีสัตว์มีชีวิตเกิดอยู่ในนั้นด้วยคิดว่า สัตว์ในนั้นจะได้อาศัยเลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว เราก็ยังกล่าวว่า นั่นเป็นทางมาแห่งบุญ เพราะการทำแม้เช่นนั้น ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานแก่มนุษย์ด้วยกันดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าทานที่ให้แก่ผู้มีศีล เป็นทานมีผลมาก. ทานที่ให้แก่ผู้ทุศีล หาเป็นอย่างนั้นไม่. และผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละเสียซึ่งองค์ ๕ และประกอบอยู่ด้วย องค์ ๕.

ละองค์ ๕ คือ :-

ละกามฉันทะ

ละพยาบาท

ละถีนมิทธะ (หดหู่ซึมเซา)

ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่านรำคาญ)

ละวิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย)

ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-

ประกอบด้วยกองศีลชั้นอเสขะ (คือชั้นพระอรหันต์)

ประกอบด้วยกองสมาธิชั้นอเสขะ

ประกอบด้วยกองปัญญาชั้นอเสขะ

ประกอบด้วยกองวิมุตติชั้นอเสขะ

ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะชั้นอเสขะ.

เรากล่าวว่าทานที่ให้ในบุคคลผู้ละองค์ห้า และ ประกอบด้วยองค์ห้า ด้วยอาการอย่างนี้ มีผลมาก ดังนี้.

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๑๒๑

ติก. อํ. ๒๐/๑๕๕/๔๙๗. : คลิกดูพระสูตร

ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอประทานพระวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งเป็นผู้ไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน จักมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?

สุมนา ! คนทั้งสองนั้นจักมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย.

สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?

สุมนา ! คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์.

สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?

สุมนา ! คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ :-

() เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย

() เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย

() เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย

() เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บริขาร คือ ยาที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย

() เมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย

สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?

สุมนา ! ข้อนี้ เราไม่กล่าวว่า มีความพิเศษแตกต่างกันใดๆ ในวิมุตติ กับวิมุตติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้กำหนดได้ว่า บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.

อย่างนั้น สุมนา !    อย่างนั้น สุมนา !

บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.

ภพภูมิ หน้า ๒๗๓

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๙/๓๑. : คลิกดูพระสูตร

ผลแห่งทาน

คหบดี ! บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม ให้ทาน

ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้นคือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ส่งจิตไปที่อื่นเสีย.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

ทั้งนี้เป็นเพราะ ผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ.

คหบดี ! บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรม ให้ทาน

ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

ทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ.

คหบดี ! เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อ เวลามะ พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด จะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ.

คหบดี ! ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น.

คหบดี ! แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด.

คหบดี ! ทานที่บุคคลถวายให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (พระโสดาบัน) ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว.

ทานที่บุคคลถวายให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ๑๐๐ ท่านบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระสกทาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอนาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ ๑๐๐ รูปบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ รูปบริโภค.

ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค.

การที่บุคคล สร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค.

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ อันมาจากจาตุรทิศ.

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่า การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ.

การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่า การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ.

และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่า การที่บุคคลเจริญเมตตาจิต โดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๑๒๔

(ภาษาไทย) นวก. อํ. ๒๓/๓๑๕/๒๒๔ : คลิกดูพระสูตร

ปาฏิปุคคลิก

ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ ให้ทานใน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ให้ทานใน พระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ให้ทานใน สาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๔ ให้ทานแก่ พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๖ ให้ทานแก่ พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ให้ทานใน พระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๐ ให้ทานใน บุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๑ ให้ทานใน บุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๒ ให้ทานใน ปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๓ ให้ทานใน สัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๔

ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ

ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี อย่าง คือ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่

(ภาษาไทย) อุปริ. . ๑๔/๓๔๓-๓๔๕/๗๑๐-๗๑๘ : คลิกดูพระสูตร

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้

ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมากมีผลมากยิ่งขึ้น

ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น

ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันสมควรที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามีเพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๓-๑๕๔/๒๘๔-๒๘๕ : คลิกดูพระสูตร

 
Today94
Yesterday366
This week94
This month460
Total2507765

Who Is Online

4
Online