Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การวางจิตเมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ควรทำอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ 1

บริษัท อาหารยอดคุณ  วันที่ 27 มิ.ย. 2555

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

เสียง 1



บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ยุวพุทธ 3    24 ม.ค. 2552  (Track 1)

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

[๑๓๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้ง หลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑ บาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว

[๑๓๖๔] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงสามเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอ ทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก.

[๑๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออก ยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก สั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมรู้ชัดว่า เรา จักกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ... ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า.

[๑๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบพึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ พระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ พระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ภิกษุ เหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอัน สัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นอาสวะ.

 

(ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๒/๑๓๖๓.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๒/๑๓๖๓.คลิกดูพระสูตร

สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต

ทั้งที่มั่งมี และ ยากจน  ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า.

เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ

ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น

วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักละพวกเธอไป สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย !  พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี

ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

 

(ไทย) มหา. ที. ๑๐/๑๐๐/๑๐๘.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๑๔๑/๑๐๘.คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จง ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่ มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง

ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึง เจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่ง เจริญ ฯ

 

 

(ไทย) อุปริ. ม.๑๔/๒๖๕/๕๒๗.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) อุปริ. ม.๑๔/๓๔๘/๕๒๗.คลิกดูพระสูตร

 

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอ เป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำ จิตได้

 

เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำ ให้มากซึ่ง

เมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ, มุทิตาเจโตวิมุตติ,

อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้งให้มั่นคงสั่งสม ปรารภดีแล้ว

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจาก อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้น 

ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว 

กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา 

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้นแผ่

ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และ

เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ 

ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยกรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ 

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

มีจิตประกอบด้วยมุทิตา 

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น 

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยมุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ 

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา 

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น 

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้นแ ละเธอมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ 

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

 

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรกทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว 

ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว  

พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

 

หลับเป็นสุข ๑

ตื่นเป็นสุข ๑

ไม่ฝันร้าย ๑

เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑

เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑

เทพยดารักษา ๑

ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดีไม่ต้องบุคคลนนั้น ๑

จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑

สีหน้าผุดผ่อง ๑

ไม่หลงทำกาละ ๑

เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป

ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑ 

 

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก

ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน

ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ 

ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล.

 

(ไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๓๘/๑๖๐.คลิกดูพระสูตร

(บาลี )สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐.: คลิกดูพระสูตร

(ไทย) มู. ม. ๑๒/๓๖๒/๔๘๒: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มู. ม. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒: คลิกดูพระสูตร

(ไทย) สี. ที. ๙/๓๗๐/๓๘๓-๔: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓-๔ : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๑๖/๒๒๒ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

Today119
Yesterday554
This week1556
This month3729
Total2361723

Who Is Online

15
Online