ขอคำอธิบาย กรรมเก่า และ กรรมใหม่
วิดีโอ
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลายและทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย). ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดีซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ : เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง อวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมี ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ... ฯลฯ ... ฯลฯ ... ฯลฯ ... เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล. หนังสือแก้กรรม หน้า ๒๕ (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๒/๑๔๓. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัย ตา ด้วย รูปทั้งหลาย ด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย หูด้วย เสียงทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่นทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย ลิ้น ด้วยรสทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย กาย ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย ใจ ด้วยธรรมารมณ์ทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๑/๘๒๒. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้ มีอยู่, เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิต จะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์ วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไป เพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง. ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ๓ ลัทธิคือ :- (๑) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน” ดังนี้. (๒) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ของเจ้าเป็นนาย” ดังนี้. (๓) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์เพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียว” มีอยู่, เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท ...มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง (ในเวลานี้) นั่นก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน. เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนมาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ(อกรณียกิจ) อีกต่อไป. เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่า เป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้. หนังสือแก้กรรม หน้า ๖๐ (ภาษาไทย) ติก.อํ ๒๐/๑๖๗/๕๐๑ : คลิกดูพระสูตร