Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การสนทนาธรรมมีประโยชน์อย่างไร เราควรเน้นการปฏิบัติอย่างเดียว หรือควรมีการสนทนาธรรมด้วย

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ปฏิญญาว่าเราเป็นสมณะ

ภิกษุทั้งหลาย !   มหาชนเขารู้จักพวกเธอทั้งหลายว่า สมณะ สมณะ ดังนี้ เมื่อพวกเธอถูกถามว่า   ท่านทั้งหลายเป็นอะไร ?   พวกเธอทั้งหลายก็ปฏิญญาว่า เราเป็นสมณะดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอทั้งหลาย มีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้จึงควรศึกษาอยู่ว่า ข้อปฏิบัติที่ดียิ่งของสมณะ อันใดมีอยู่ เราทั้งหลายจะปฏิบัติข้อปฏิบัติอันนั้น เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า สมณะ และปฏิญญา นี้ ของพวกเรา ก็จักเป็นความจริงแท้  

อนึ่ง พวกเราบริโภคใช้สอย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของทายกเหล่าใด การบำเพ็ญทาน ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ และ การบรรพชาของพวกเราเอง การบรรพชานี้ จักไม่เป็นหมันเปล่า จักมีแต่ผล มีแต่กำไร แก่เราโดยแท้

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล

ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๗๙

(ภาษาไทย)   มู. . ๑๒/๓๔๙/๔๕๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 เหตุปัจจัยของการแสดงธรรม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ ? เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง ต่อพระตถาคตในกาลบางคราว ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว

 

ปุณณิยะ ! ภิกษุมีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา พระธรรมเทศนาจึงไม่แจ่มแจ้งต่อพระตถาคตก่อน แต่ในกาลใด ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา ในกาลนั้น พระธรรมเทศนาจึงจะแจ่มแจ้งต่อพระตถาคต

ปุณณิยะ ! ภิกษุมีศรัทธา เข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้านั่งใกล้ แต่ไม่สอบถาม ...สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ... เงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ ... ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ... พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่เป็นผู้รู้อรรถ รู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ... รู้อรรถ รู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความ ได้แจ่มแจ้ง ... เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ สละสลวย ไม่ หยาบคาย ให้รู้เนื้อความ ได้แจ่มแจ้ง แต่ไม่เป็นผู้ชี้แจง เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง พระธรรมเทศนาจึงไม่แจ่มแจ้งต่อพระตถาคตก่อน

ปุณณิยะ ! แต่ในกาลใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้านั่งใกล้ สอบถาม เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง เป็นผู้ชี้แจงเพื่อนพรหมจรรย์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ ร่าเริง ในกาลนั้น พระธรรมเทศนาจึงแจ่มแจ้งต่อพระตถาคต

ปุณณิยะ พระธรรมเทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้แล จึงแจ่มแจ้งต่อพระตถาคตโดยส่วนเดียว

(ภาษาไทย) ทสก. . ๒๔/๑๓๕/๘๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 ผู้ประสบบุญใหญ่

ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีลเข้าไปสู่สกุลใด มนุษย์ทั้งหลยในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมด้วยฐนะ ๕ อย่ง. ฐานะ ๕ อย่าง อะไรบ้างเล่า ? ๕ อย่าง คือ :-

(๑) ในสมัยใด จิตของมนุษย์ทั้งหลย ย่อมเลื่อมใส เพระได้เห็นนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่ ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์.

(๒) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลย พกันต้อนรับ กรบไหว้ ให้อสนะแก่นักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่ ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อกรเกิดในสกุลสูง.

(๓) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลย กำจัดมลทินคือควมตระหนี่เสียได้ในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่ ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อกรได้เกียรติศักดิ์อันใหญ่.

(๔) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลย ย่อมแจกจ่ยทน ตมสติ ตมกำลังในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่ ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อกรได้โภคทรัพย์ใหญ่.

(๕) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลย่อมไต่ถม สอบสวน ย่อมฟังธรรมในนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล, ในสมัยนั้น สกุลนั้น ชื่อว่ ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อกรได้ปัญญใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย !   นักบวชผู้มีศีล เข้ไปสู่สกุลใด, มนุษย์ทั้งหลยในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมด้วยฐนะ ๕ อย่งเหล่นี้ แล.

ปฐมธรรม หน้า ๑๕๔

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๑๖/๑๙๙. : คลิกดูพระสูตร

ทางให้ถึงความหลุดพ้นห้าทาง

 ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ห้าประการเหล่านี้มีอยู่ ห้าประการ คือ

 . ภิกษุทั้งหลาย ! พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครู แสดงแก่เธอ เมื่อภิกษุ เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบรำงับ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่หนึ่ง

 . ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุได้แสดงธรรม เท่าที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมา แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารอยู่ ภิกษุนั้น ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่เธอได้แสดง เท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สอง

 . ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุนั้น มิได้แสดงธรรม เท่าที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมา แต่ภิกษุ ได้ทำการสาธยายธรรม ที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมาอยู่ ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ได้ ทำการสาธยายธรรม เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม

 . ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุนั้นมิได้แสดงธรรมเท่าที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และภิกษุนั้นมิได้ทำการสาธยายธรรม ที่ได้ฟังมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมาอยู่ แต่ภิกษุ ได้ตรึกตาม ตรองตามด้วยใจ ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ได้ตรึกตาม ตรองตามด้วยใจ ใคร่ครวญธรรม เท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สี่

 . ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมี่อีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุนั้น มิได้แสดงธรรม เท่าที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมา   และภิกษุนั้น มิได้ทำการสาธยายธรรม ที่ได้ฟังมา ได้ศึกษา เล่าเรียนมาอยู่ และภิกษุนั้น มิได้ตรึกตามตรองตาม ใคร่ครวญธรรม  เท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียน มาด้วยใจ แต่ว่า สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอศึกษาเล่าเรียน มาด้วยดีแล้ว ทำไว้ในใจด้วยดีแล้ว ทรงไว้ด้วยดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาอยู่ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอศึกษา เล่าเรียนมาด้วยดีแล้ว ทำไว้ในใจด้วยดีแล้ว ทรงไว้ด้วยดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาอยู่ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่ห้า

 ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ห้าประการ เหล่านี้ ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือว่า เธอย่อมได้บรรลุตามลำดับ ในธรรมอันเกษมจากโยคะ ที่ยังไม่ได้บรรลุ ตามลำดับ ดังนี้.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๕๕

 (ภาษาไทย) ปญฺจก .อํ. ๒๒/๒๐/๒๖. : คลิกดูพระสูตร

 การสนทนาธรรม

 ภิกษุทั้งหลาย !   บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา เรื่องอะไรกัน และเรื่องอะไร ที่พวกเธอสนทนากันค้างไว้ ?

 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธัมมีกถา ปรารภถึงพระผู้มีพระภาค นั้นแล พวกข้าพระองค์พูดกันค้างอยู่ ก็พอดี พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง

 สาธุ ภิกษุทั้งหลาย ! การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา นั่งสนทนา ธัมมีกถากัน เป็นการสมควร พวกเธอเมื่อ นั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือ สนทนาธรรมกัน หรือ นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ

 ภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหามีสองอย่าง คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐอย่างหนึ่ง (ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย) การแสวงหาที่ประเสริฐอย่างหนึ่ง (นิพพาน)

 (ภาษาไทย) มู. . ๑๒/๒๒๐/๓๑๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 
Today341
Yesterday372
This week2467
This month9713
Total2357056

Who Is Online

12
Online