การกระจายผัสสะ คืออย่างไร
แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่เสียง
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
[๗๙๗] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๗๙๘] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๗๙๙] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๐] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุสัมผัสเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ ตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๑] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๒] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนโสตะเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฆานะเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชิวหาเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ [๘๐๓] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๔] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ (ภาษาไทย) อุปริ, ม. ๑๔/๓๘๑/๗๙๗-๘๐๔ : คลิกดูพระสูตร
อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร? ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร? ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้? ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น? ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๘/๑๖๓ : คลิกดูพระสูตร