Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การพึ่งตน พึ่งธรรมเป็นอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ วันที่ 16 มี.ค. 56

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี

ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ

ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;

มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ

ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.

อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา,

ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.

หนังสือตามรอยธรรม ปกหลัง

(ภาษาไทย) , มหาวาร. สํ ๑๙/๑๘๐/๗๔๐.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า

จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขาร

ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ

หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้

เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส

มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ

ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร

เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก

ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ

ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำ

จิตตสังขารให้รำงับหายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้

เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร

เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก

ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น

อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนา

อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้

ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง

หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้

ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้

ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่

หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น

จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ

มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น

สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร

เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า เราเป็น

ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้

เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร

เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ

เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ

โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ให้บริบูรณ์ได้.__

หนังสือ อานาปานสติ ฉบับ ๖ หน้า 13

(ภาษาไทย) , มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๖/๑๓๘๑-๑๓๙๘.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำาให้มากแล้ว...

ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้

คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.

หนังสือ อานาปานสติ ฉบับ ๖ หน้าปก

(ภาษาไทย) , มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๐/๑๓๑๓.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

...ฯลฯ...

ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นความเกิดความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า

 

ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป
ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา 
ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร 
ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ

 

นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

(ภาษาไทย) อุปริ๑๑/๒๗๐/๔๔๔.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today579
Yesterday684
This week4130
This month14148
Total2521453

Who Is Online

80
Online