Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

กุศลกรรมบท 10 เป็นสิ่งที่ใช้วัดความดีของบุคคล แม้ยังเป็นเพียงผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น คืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

 

วิดีโอ

 

คอร์สปฎิบัติธรรมวัดนาป่าพง 26 พ.ย. 53

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง

ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง

ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

() บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง

เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา

มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่.

() ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้

ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย.

() ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม,

(คือเว้นจากการประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา

พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ ญาติรักษา อันธรรมรักษา

เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม

โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องมาลัย)

ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

() บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท

ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี

ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี

อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า

บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น

ดังนี้, บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้

เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น,

เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น

หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็ไม่เป็น ผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.

() ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากการส่อเสียด

ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้

หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น

แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน

อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น

เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง

เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน.

() ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ

กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก

เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน

เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่.

() ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ

กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์

เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง

มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็น อย่างไรเล่า ?

() บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา

คือเป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า

สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้.

() เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่ประทุษร้ายว่า

สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน

ไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิดดังนี้ เป็นต้น.

() เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่วิปริต ว่า

ทานที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล),

ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่ว มี,

โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี,  โอปปาติกสัตว์ มี,

สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น

ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีดังนี้.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง.

จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐.

จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้

ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว

แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด;

แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด;

แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด;

แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด,  แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด;

แม้จะไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด, แม้จะไม่ไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด;

แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สามก็เป็นคนสะอาด

แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

เหล่านี้ เป็นตัวความสะอาด และเป็นเครื่องกระทำความสะอาด.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุ

พวกเทพจึงปรากฏ หรือว่าสุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

พุทธวจน ปฐมธรรม  บทที่ ๔๘ หน้า ๑๒๙.

(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓-๒๘๙/๑๖๕.: คลิกดูพระสูตร


 

Today115
Yesterday474
This week589
This month8981
Total2366975

Who Is Online

8
Online