อานาปานสติ, ฌาน, สมถะ และวิปัสสนา สัมพันธ์กันอย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
[๕๗] ดูกรอานนท์ อธิกรณ์นี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แลอธิกรณ์ ๔ อย่าง ฯ ดูกรอานนท์ ก็อธิกรณ์สมถะนี้มี ๗ อย่างแล คือ เพื่อระงับอธิกรณ์อันเกิดแล้วๆ สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมุฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะเยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ฯ (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๔๑/๕๗. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุ!เรากล่าวความสงบ(สมถะ) แห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับคือ เมื่อภิกษุเข้าถึงปฐมฌาน วาจาย่อมดับเมื่อภิกษุเข้าถึงทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมดับเมื่อภิกษุเข้าถึงตติยฌาน ปีติย่อมดับเมื่อภิกษุเข้าถึงจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ (ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๑/๓๙๓: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย!เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้างเพราะอาศัย ทุติยฌานบ้างเพราะอาศัย ตติยฌานบ้างเพราะอาศัย จตุตถฌานบ้าง เพราะอาศัย อากาสนัญจายตนบ้างเพราะอาศัย เนวสัญญานาสัญญายตนบ้าง. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๙๑๑ (ภาษาไทย)นวก.อํ.๒๓/๓๔๑/๒๔๐: คลิกดูพระสูตร
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่ อนุบุพพวิหาร ๙ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ อนึ่ง เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ บรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนัสสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญาอยู่ บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนัสสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนัสสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่งฯ (ภาษาไทย) ปา.ที. ๑๑/๒๘๒/๔๖๓. : คลิกดูพระสูตร
สันธะ ! เธอจงเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์อาชาไนย ; อย่าเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์กระจอก. สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก ? สันธะ ! ม้ากระจอก ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันก็จะเพ่งอยู่แต่ว่า “ข้าวเปลือก ๆ” เพราะเหตุไรเล่า ? สันธะ ! เพราะเหตุว่ามันไม่มีแก่ใจที่จะคิดว่า “วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” ; มันมัวเพ่งอยู่ในใจว่า “ข้าวเปลือก ๆ” ดังนี้. สันธะ! ฉัน ใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุกระจอกบางรูปในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม มีจิตถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุมห่อหุ้มอยู่. เขาไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว; เขากระทำกามราคะนั้น ๆ ให้เนื่องกันไม่ขาดสาย เพ่งอยู่ เพ่งทั่วอยู่ เพ่งโดยไม่เหลืออยู่ เพ่งลงอยู่. (ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ -อุทธัจจกุกกุจจะ – และวิจิกิจฉานิวรณ์ ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์). ภิกษุ นั้นย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าดินบ้าง ย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าน้ำบ้าง อาศัยความสำคัญว่าไฟบ้าง อาศัยความสำคัญว่าลมบ้าง ว่าอากาสานัญจายตนะบ้าง ว่าวิญญาณัญ-จายตนะบ้าง ว่าอากิญจัญญายตนะบ้าง ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง ว่าโลกนี้บ้าง ว่าโลกอื่นบ้าง อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”. “สิ่งที่เราฟังแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว”, “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว”, “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว”, “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆเป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่. สันธะ !อย่างนี้แล เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก. สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์อาชาไนย ? สันธะ ! ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันจะไม่เพ่งอยู่แต่ว่า“ข้าวเปลือก ๆ” เพราะเหตุไรเล่า ? สันธะ ! เพราะเหตุว่า แม้ถูกผูกอยู่ที่รางเลี้ยงอาหาร แต่ใจของมันมัวไปคิดอยู่ว่า “วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ”ดังนี้; มันไม่มัวแต่เพ่งอยู่ในใจว่า “ข้าวเปลือก ๆ” ดังนี้. สันธะ ! ก็ม้าอาชาไนยนั้น รู้สึกอยู่ว่า การถูกลงปะฏักนั้นเป็นเหมือนการใช้หนี้ การถูกจองจำ ความเสื่อมเสีย เป็นเหมือนเสนียดจัญไร. สันธะ ! ภิกษุอาชาไนยผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม, มีจิตไม่ถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุม ห่อหุ้ม อยู่, เขาเห็นตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว. (ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - และวิจิกิจฉา - นิวรณ์ ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์). ภิกษุ นั้น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าดิน ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำ ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟ ไม่อาศัยความสำคัญว่าลม ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกนี้ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกอื่น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”. “สิ่งที่เราฟังแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว”,“สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว”, “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว”, “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว”, “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆ เป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่ๆ. สันธะ ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี ย่อมนมัสการบุรุษอาชาไนยผู้เจริญผู้เพ่งอยู่อย่างนี้ มาแต่ที่ไกลทีเดียว กล่าวว่า :- “ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษสูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบ สิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน” “นโม เต ปุริสาช นโม เต ปุริสุตฺตม ยสฺส เต นาภิชานาม ยมฺปิ นิสฺสาย ฌายสีติฯ” (เมื่อตรัสดังนี้แล้ว สันธภิกษุได้ทูลถามว่า :-) “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษ อาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอย่างไรกัน ชนิดที่ไม่อาศัยดินหรือน้ำ เป็นต้นแล้วเพ่ง จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น พระเจ้าข้า ?” สัทธะ ! ในกรณีนี้ ปฐวีสัญญา (ความสำคัญในดินว่าดิน) ย่อมเป็นแจ้ง (วิภูติ-เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง) แก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ (ตามนัยแห่งอรรถกถา : มโนรถปูรณี ภ. ๓ น. ๔๓๒) ความสำคัญในนํ้าว่านํ้า, ความสำคัญในไฟว่าไฟ,ความสำคัญในลมว่าลม, ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าอากาสานัญจายตนะ, ความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าวิญญาณัญจายตนะ, ความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าอากิญจัญญายตนะ, ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ, ความสำคัญในโลกนี้ว่าโลกนี้, ความสำคัญในโลกอื่นว่าโลกอื่น, ความสำคัญในสิ่งที่เห็นแล้ว ฟังแล้วฯลฯ ว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว” “สิ่งที่เราฟังแล้ว” ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ. สันธะ ! บุรุษ อาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า ไม่อาศัยความสำคัญว่าดินแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟแล้วเพ่ง เป็นต้น จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๘๒ (ภาษาไทย) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๒๙๘ /๒๑๖: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา (ความรู้แจ้ง). ๒ อย่าง อะไรเล่า ? ๒ อย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา ภิกษุทั้งหลาย ! สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? อบรมแล้ว จิตจะเจริญ จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้ว จะละราคะได้. ภิกษุทั้งหลาย ! วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้ แล. ฉบับ ๙ ปฐมธรรม : ๗๒. ความสำคัญของสมถะและวิปัสสนา (ภาษาไทย) ทุก. อํ. ๒๐/๕๗/๒๗๕.: คลิกดูพระสูตร