การปฏิบัติ บางคนได้ผลดี บางคนได้ผลไม่ดี ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอะไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่; คือ
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,
ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.
ก. แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้
มีปกติเห็นความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญา พละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า :
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.
ข. แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้
มีปกติเห็นความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญา พละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้เร็ว :
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.
ค. แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน . . . . ทุติยฌาน . . . . ตติยฌาน . . . . จตุตถฌาน ( มีรายละเอียดดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป ) แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า :
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.
ง. แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน . . . . ทุติยฌาน . . . . ตติยฌาน . . . . จตุตถฌาน . . . . แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของ
พระเสขะ ๕ประการเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้เร็ว : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.