Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อนุปุพพวิหารอาพาธ คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

อนุปุพพวิหารอาพาธ

(อาการที่อารมณ์อันละได้ด้วยฌานใด จะมากลายเป็น

สัญญาที่ทำความอาพาธให้แก่การเข้าอยู่ในฌานนั้น)

อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ,ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ดังนี้, แต่แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เสื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้ากระไร เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดย กาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ ฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกามก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะ สงบวิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท  ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่ เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิตกก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะ ความจางไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แมกระนั้นจิตของเราก็ยัง ไม่แล่น ไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีติกฌาน เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ. แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้. ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขามีสติแลสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓ นี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะ ละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสแลโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอุเบกขาสุข เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเบกขาสุข แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอุเบกขาสุข ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดยประการทั้งปวงได้, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความกำหนดหมายอารมณ์ที่กระทบใจ), เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่างๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท  ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.  อานนท์ ! โดย กาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อ เป็นเช่นนั้น เราแลเพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในรูปทั้งหลาย ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา. เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท  ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่นั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดย กาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นว่าอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่าอะไร ๆ ไม่มีแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท  ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แลน่ ไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษวิญญาณัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดย กาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.  อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่าอะไร ๆ ไม่มีแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคืออากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้ กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญยตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้. ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดย กาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั้น สงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท  ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ รู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น, อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดย กาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เราแลผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไร ๆ อีกต่อไป ). อนึ่ง อาสวะทั้งหลาย ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจสี่) ได้ด้วยปัญญา.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   หน้า ๕๓๐

(ภาษาไทย) นวก. อํ. ๒๓/๓๕๒/๒๔๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 


 

 

 

 

Today248
Yesterday568
This week2603
This month7634
Total2365628

Who Is Online

17
Online