Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อาสวะ คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

 

 

บางส่วนจาก 

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ภิกษุ ท. !  เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ (สญฺโญชนิยธมฺม) และตัวสัญโญชน์. 

พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น.

ภิกษุ ท. !  สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์เป็นอย่างไร ? และตัวสัญโญชน์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !  รูป  (กาย)  เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์. ฉันทราคะ(ความกำหนัดเพราะพอใจ)ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น ฉันทราคะนั้น คือตัวสัญโญชน์ในรูปนั้น ;

ภิกษุ ท. !  เวทนา  เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น  คือตัวสัญโญชน์ ในเวทนานั้น ;

ภิกษุ ท. !  สัญญา  เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น   ฉันทราคะนั้น  คือ  ตัวสัญโญชน์   ในสัญญานั้น ;

ภิกษุ ท. !  สังขาร  ทั้งหลาย  เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์,  ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น  ฉันทราคะนั้น  คือ ตัวสัญโญชน์  ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ;

ภิกษุ ท. !  วิญญาณ  เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์,  ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในวิญญาณนั้น   ฉันทราคะนั้น คือ  ตัวสัญโญชน์  ในวิญญาณนั้น.

ภิกษุ ท. !  ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์;

ฉันทราคะนี้ เรียกว่า ตัวสัญโญชน์ แล.   

     

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑หน้า ๒๒๗- ๒๒๘

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘. : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๙/๓๐๘. : คลิกดูพระสูตร

ราธะ ! ความพอใจ (ฉันทะ) ก็ดี  ความกําหนัด (ราคะ) ก็ดี

ความเพลิน (นันทิ) ก็ดี  ความอยาก (ตัณหา) ก็ดี  มีอยู่

ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ใดๆ

พวกเธอทั้งหลาย จงละกิเลสนั้นๆ เสีย ด้วยการทำอย่างนี้

รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณนั้นๆ จักเป็นสิ่งที่พวกเธอละได้แล้ว

เป็นสิ่งที่มีมูลรากอันตัดเสียแล้ว

ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้

ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป.

 

ราธะ ! ความพอใจ ก็ดี  ความกำหนัด ก็ดี ความเพลิน ก็ดี  ความอยาก ก็ดี

กิเลสเป็นเหตุให้เข้าไปสู่ภพ(อุปายะ) ก็ดี  และความยึดมั่น (อุปาทาน) ก็ดี

อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิต มีอยู่

ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใดๆ

พวกเธอทั้งหลายจงละกิเลสนั้นๆ เสีย 

ด้วยการทำอย่างนี้

รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ นั้นๆ

จักเป็นสิ่งที่พวกเธอละได้แล้ว

เป็นสิ่งที่มีมูลรากอันตัดเสียแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า

ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป.

 

พุทธวจน ภพภูมิ  หน้า ๔๖๑.

 (บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๖-๒๓๗/๓๗๕-๓๗๖. : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๕/๓๗๕-๓๗๖. : คลิกดูพระสูตร

 

 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ

ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”

มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ  อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก  เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้; แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน  พร่ำสรรเสริญ  สยบมัวเมา  ซึ่งรูปนั้นอยู่  นั่นแหละ,

นันทิ(ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น

เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี;

เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ(ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี :    

มิคชาละ !  ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก, รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และ ธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).

มิคชาละ !  ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้  แม้จะส้องเสพเสนาสนะ อันเป็นป่า และป่าชัฏ  ซึ่งเงียบสงัด  มีเสียงรบกวนน้อย  มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย  ปราศจากลมจากผิวกายคน  เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควร  แก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม ถึงกระนั้น  ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า

ตัณหานั่นแล  เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น.

ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ยังละไม่ได้แล้วเพราะเหตุนั้น

ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” ดังนี้.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า !”

มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น นั่นแหละ นันทิย่อมดับ

 เมื่อ นันทิไม่มีอยู่, สาราคะ ย่อมไม่มี

เมื่อ สาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ ย่อมไม่มี

มิคชาละ !  ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว  ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน  นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก, รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และ ธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).

มิคชาละ !  ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้   แม้อยู่ในหมู่บ้านอันเกลื่อนกล่นไปด้วย ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกาทั้งหลายด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า

ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น;

ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้วเพราะเหตุนั้น

ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” ดังนี้ แล.

 

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)  หน้า ๒๔.

 (บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖-๖๗. : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔/๖๖-๖๗. : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรในอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นอินทรีย์ที่

เมื่อภิกษุไม่สำรวมแล้ว,

อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น. และ

เมื่อภิกษุเป็นผู้สำรวมแล้วเป็นอยู่, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน

จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่สำรวมด้วยอาการอย่างนี้,

 

อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และ

เมื่อภิกษุสำรวมแล้วเป็นอยู่

อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !   นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวม.

 

ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)หน้า ๘๐

 (บาลี) มู. ม. ๑๒/๑๖/๑๓.: คลิกดูพระสูตร

(ไทย) มู. ม. ๑๒/๑๓/๑๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 

Today193
Yesterday568
This week2548
This month7579
Total2365573

Who Is Online

83
Online