โลกุตระ และ สุญญตา คืออะไร
วิดีโอ 1
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ส่วนหนึ่งของสนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ที่ ๙ เม.ย. ๕๔
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมา ทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่ เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ (ไทย)อุปริ. ม. ๑๔/๑๔๖/๒๕๖-๒๕๗:คลิกดูพระสูตร (บาลี)อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๑/๒๕๖-๒๕๗:คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับ คือ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง ปฐมฌาน (สงัด จากกามทั้งหลาย สงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลาย) วาจา ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง ทุติยฌาน (เพราะ วิตก วิจาร รำงับไป) วิตก วิจาร ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง ตติยฌาน (เพราะ ความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา)ปีติ ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง จตุตถฌาน (เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัส ในกาลก่อน) ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง อากาสานัญจายตน (ก้าวล่วงรูปสัญญาเสีย โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญาทั้งหลาย อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด) รูปสัญญา ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง วิญญาณัญจายตน (ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด) อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง อากิญจัญญายตน (ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าว่างเปล่า ไม่มีอะไร) วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตน (ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ) อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ (ก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ) สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ เมื่อ ภิกษุ เป็นผู้สิ้นอาสวะ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ ผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๑/๓๙๓.: คลิกดูพระสูตร (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๓.: คลิกดูพระสูตร