Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

กายวิเวก, จิตวิเวก, อุปธิวิเวก และอุปธิ คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

เสียง



บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็น ไฉน คือ

บุคคลมีกายออกไปแล้ว มีจิตยังไม่ออก ๑

มีกายยังไม่ออกมีจิตออกไปแล้ว ๑

มีกาย ยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วย ๑

มีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออกไปแล้วด้วย ๑

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้ว มีจิตยังไม่ออกไปอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัดคือ ป่าและราวป่า เขาตรึกถึงกามวิตกบ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตกบ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วมีจิตยังไม่ออกอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกไปมีจิตออกไปอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและราวป่า เขาตรึกถึงเนกขัมมวิตกบ้าง อัพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้างในที่นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกไป มีจิตออกไปแล้วอย่าง นี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วยอย่างไร

บุคคล บางคนในโลกนี้ ไม่เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่าเขาตรึกถึงกามวิตกบ้าง ตรึกถึง พยาบาทวิตกบ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตกบ้างดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกด้วย มีจิต ยังไม่ออกด้วยอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออกไปแล้ว ด้วยอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่าเขาตรึกถึงเนก ขัมมวิตกบ้าง อัพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล เป็นผู้มีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออกไปแล้วด้วยอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

 

 

(ไทย)จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓๖/๑๓๘.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๔/๑๓๘.คลิกดูพระสูตร

ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล

เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ

เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ

เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ

เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ

เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ

เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้า อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ

 

 

(ไทย)สฬา.สํ. ๑๘/๒๓๑/๓๙๒.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)สฬา.สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒.คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐม ฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตน ฌานบ้าง ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัดความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือ ลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯบรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่อ อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิต ให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีตคือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จัก ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือ ลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจ ถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ แห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพานเธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌาน นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอ ย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัม ภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลายคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌาน นั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วย ธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็น ที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของ นายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่ พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็น อารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อม น้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรม นั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แลสัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการ ออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ

 

(ไทย)นวก. อํ. ๒๓/๓๔๑-๔๔๗/๒๔๐.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.คลิกดูพระสูตร

 


ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ก็อุปธิอัน นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิดมีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี เมื่อเธอพิจารณาอยู่ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหา เป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มีอุปธิ ก็ไม่มี เธอย่อมทราบชัดซึ่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งความดับแห่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งปฏิปทาอันสมควรเครื่องให้ถึงความดับแห่งอุปธิ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ ตามนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติตามธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุรูปนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความสิ้นทุกข์

เพื่อความดับแห่งอุปธิโดยชอบทุกประการ ฯ

 

 

(ไทย)นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๕/๒๕๗.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๐/๒๕๗.คลิกดูพระสูตร

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today824
Yesterday1254
This week5629
This month15647
Total2522952

Who Is Online

65
Online