Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

พระเถรานุเถระ เเปลว่าอะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์  วันที่ 19 ก.พ. 2554

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 
ดูกรจุนทะ แม้ถ้าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดา เป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ แต่ว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็น สาวกของศาสดานั้นไม่เป็นเถระ ไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่ เป็นผู้ได้รับแนะนำ ไม่เป็นผู้แกล้วกล้า และไม่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ ไม่ สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มี ปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม พรหมจรรย์นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
 
ดูกรจุนทะ ในกาลใดแล แม้ถ้าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วง กาล ผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดา นั้น ก็เป็นเถระ เป็นผู้ เชี่ยวชาญ เป็นผู้ได้รับแนะนำแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า และ เป็นผู้บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก โยคะแล้ว สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้ โดยชอบ สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรับปวาทที่เกิดขึ้นแล้วด้วยดี โดยชอบธรรม อย่างนี้ พรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์ นั้น ฯ
 
 
(ไทย) ปา.ที. ๑๑/๙๖/๑๐๓.คลิกดูพระสูตร
(บาลี) ปา.ที. ๑๑/๑๓๔/๑๐๓.คลิกดูพระสูตร
 
 

 

 

[๔๒๒] สมัยนั้น ประชาชนหมู่หนึ่งถวายภัตรแก่พระสงฆ์ ท่านพระ สารีบุตรเป็น สังฆเถระ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉัน จึงเหลือท่านพระสารีบุตรไว้รูปเดียว แล้วพากัน กลับไป ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงความยินดีกะคนเหล่านั้น แล้วได้ไป ทีหลังรูปเดียว พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรเดินมาแต่ไกลรูป เดียว จึงรับสั่ง ถามว่า ดูกรสารีบุตร ภัตรมีมากมายกระมัง ท่านพระสารีบุตรทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภัตรมีมากมาย แต่ภิกษุทั้งหลาย ละข้าพระพุทธ เจ้าไว้ผู้เดียว แล้วพากันกลับไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ เถรานุเถระ ๔-๕ รูปรออยู่ในโรงฉัน ฯ

 

[๔๒๒] เตน โข ปน สมเยน อญฺญตรสฺส ปูคสฺส สงฺฆภตฺตํ โหติ ฯ อายสฺมา สารีปุตฺโต สงฺฆเถโร โหติ ฯ ภิกฺขู ภควตา อนุญฺญาตํ เถเรน ภิกฺขุนา ภตฺตคฺเค อนุโมทิตุนฺติ อายสฺมนฺตํ สารีปุตฺตํ เอกกํ โอหาย ปกฺกมึสุ ฯ อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต เต มนุสฺเส ปฏิสมฺโมทิตฺวา ปจฺฉา เอกโก อคมาสิ ฯ อทฺทสา โข ภควา อายสฺมนฺตํ สารีปุตฺตํ ทูรโต ว เอกกํ ๑ อาคจฺฉนฺตํ ทิสฺวาน อายสฺมนฺตํ สารีปุตฺตํ เอตทโวจ กจฺจิ สารีปุตฺต ภตฺตํ อิทฺธํ อโหสีติ ฯ อิทฺธํ โข ภนฺเต ภตฺตํ อโหสิ อปิจ มํ ภิกฺขู เอกกํ โอหาย ปกฺกนฺตาติ ฯ อถโข ภควา เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ ธมฺมึ กถํ กตฺวา ภิกฺขู อามนฺเตสิ อนุชานามิ ภิกฺขเว ภตฺตคฺเค จตูหิ ปญฺจหิ เถรานุเถเรหิ ภิกฺขูหิ อาคเมตุนฺติ ฯ 


(ไทย) จุลฺล. วิ. ๗/๑๔๙/๔๒๒.คลิกดูพระสูตร 

(บาลี) จุลฺล. วิ. ๗/๒๒๓/๔๒๒.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today210
Yesterday568
This week2565
This month7596
Total2365590

Who Is Online

21
Online