ความหมายของคำว่าปวิเวก และคำว่าปฏิสัลลานะ
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ดูก่อนนันทิยะ ! อริยสาวก เป็นผู้ อยู่ด้วยความประมาท และเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีอยู่อย่างไรนั้น เราจักแสดงแก่เธอ เธอจงฟังให้สำเร็จประโยชน์.... ดูก่อนนันทิยะ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย พุทธอเวจจัปปสาทะ (ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหวอีกต่อไป) ดังนี้ว่า “แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”. อริยสาวกนั้น ยินดีอยู่แต่ในธรรมเพียงเท่านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อปวิเวกในกลางวัน เพื่อปฏิสัลลาณะในกลางคืน. [๑๖๐๑] กถญฺจ นนฺทิย อริยสาวโก ปมาทวิหารี โหติ ฯ อิธ นนฺทิย อริยสาวโก พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน สมนฺนาคโต โหติ อิติปิ โส ภควา ฯเปฯ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ โส เตน พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน สนฺตุฏฺโฐ น อุตฺตรึ วายมติ ทิวา ปวิเวกาย รตฺติยา ๑ ปฏิสลฺลานาย ฯ ตสฺส เอวํ ปมตฺตสฺส วิหรโต ปามุชฺชํ ๒ น โหติ ปามุชฺเช อสติ ปีติ น โหติ ปีติยา อสติ ปสฺสทฺธิ น โหติ ปสฺสทฺธิยา อสติ ทุกฺขํ วิหรติ ทุกฺขิโน จิตฺตํ น สมาธิยติ อสมาหิเต จิตฺเต ธมฺมา น ปาตุภวนฺติ ฯ ธมฺมานํ อปาตุภาวา ปมาทวิหารีเตฺวว สงฺขํ ๓ คจฺฉติ ฯ ปุน จปรํ นนฺทิย อริยสาวโก ฯ ธมฺเม สงฺเฆ ฯ อริยกนฺเตหิ สีเลหิ สมนฺนาคโต ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๔๔ (ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๕/๑๖๐๑:คลิกดูพระสูตร (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๐๐/๑๖๐๑:คลิกดูพระสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า สมณะหรือพราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบ ความเพียรไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะจักเป็นผู้ประกอบความเพียร จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย จักประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งวันคืนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ (ไทย) อํ.ปญฺจก. ๒๒/๒๗๗/๒๘๘:คลิกดูพระสูตร (บาลี) อํ.ปญฺจก. ๒๒/๓๓๖/๒๘๘:คลิกดูพระสูตร