Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อหังการ มมังการ มานานุสัย คืออะไร?

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

ดาวน์โหลด : 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ

ภิกษุทั้งหลาย. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์  ๖ ประการ ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง อนัตตสัญญา ในธรรมทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต. 

หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์  ๖ ประการเหล่าไหนเล่า ?  หกประการคือ :

เราจักเป็นอตัมมโย ในโลกทั้งปวง(ปัจจัยนั้น ๆ  ไม่อาจปรุงแต่งได้);

อหังการ(การกระทำในใจด้วยความยึดถือว่าเราว่าตน)ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ;

มมังการ(การกระทำในใจด้วยความยึดถือว่าของเรา ว่าของตน)ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ;

เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ความรู้อันไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน);

ธรรมอันเป็นเหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นแล้วด้วยดีและ 

ธรรมทั้งหลายอันเกิดแต่เหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนัตตสัญญา ในธรรมทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๙๒๘-๙๓๐

(ไทย)  ฉกฺก. อํ. ช ๒๒/๓๙๖-๓๙๗/๓๗๓-๓๗๕.  : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)  ฉกฺก. อํ. ช ๒๒/๔๙๓-๔๙๔/๓๗๓-๓๗๕.  : คลิกดูพระสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ...สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ...สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ...สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. 

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง ...สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ...สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ...สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ...นั่นไม่ใช่ของเรา ...นั่นไม่เป็นเรา ...นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ปฐมธรรม หน้า ๓๐๖

(ไทย)  ขนธ. สํ.  ๑๗/๔๔/๙๑.  : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)  ขนธ. สํ.  ๑๗/๕๕/๙๑.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today228
Yesterday254
This week814
This month8060
Total2355403

Who Is Online

17
Online