จิต, เจตสิก, รูป และ นิพพาน คืออะไร
เสียง
ยุวพุทธิกสมาคม ครั้งที่ 2 track 11
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี
ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับจะพึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้างหลุดพ้นบ้างในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าความเจริญก็ดีความเสื่อมก็ดีการเกิดก็ดีการตายก็ดีของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ย่อมปรากฏปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้างหลุดพ้นบ้างในร่างกายนั้นแต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่าจิตบ้างมโนบ้างวิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับไม่อาจเบื่อหน่ายคลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลยข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อันปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหายึดถือด้วยทิฐิว่านั่นของเรานั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้ตลอดกาลช้านานฉะนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับจึงไม่อาจจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลยฯ (ไทย)นิทาน.สํ. ๑๖/๙๓/๒๓๐.คลิกดูพระสูตร (บาลี)นิทาน.สํ. ๑๖/๑๑๔/๒๓๐.คลิกดูพระสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป เพราะสลายไปจึงเรียกว่ารูปสลายไปเพราะอะไรสลายไปเพราะหนาวบ้างเพราะร้อนบ้างเพราะหิวบ้างเพราะกระหายบ้างเพราะสัมผัสแห่งเหลือบยุงลมแดดและสัตว์เลื้อยคลานบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวยจึงเรียกว่าเวทนาเสวยอะไรเสวยอารมณ์สุขบ้างเสวยอารมณ์ทุกข์บ้างเสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่าสัญญาจำได้หมายรู้อะไรจำได้หมายรู้สีเขียวบ้างสีเหลืองบ้างสีแดงบ้างสีขาวบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่าสังขารปรุงแต่งสังขตธรรมอะไรปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูปโดยความเป็นรูปปรุงแต่งสังขตธรรมคือเวทนาโดยความเป็นเวทนาปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญาโดยความเป็นสัญญาปรุงแต่งสังขตธรรมคือสังขารโดยความเป็นสังขารปรุงแต่งสังขตธรรมคือวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่าวิญญาณรู้แจ้งอะไรรู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้างรสขมบ้างรสเผ็ดบ้างรสหวานบ้างรสขื่นบ้างรสไม่ขื่นบ้างรสเค็มบ้างรสไม่เค็มบ้าง. (ไทย)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๖/๑๕๙.คลิกดูพระสูตร (บาลี)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๔/๑๕๙.คลิกดูพระสูตร
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ณพระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถีก็สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริงด้วยธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพานก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่นมนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้วเงี่ยโสตลงฟังธรรมลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้วทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ดินน้ำไฟลมอากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญายตนะโลกนี้โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่าเป็นการมาเป็นการไปเป็นการตั้งอยู่เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้มิได้เป็นไปหาอารมณ์มิได้นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ฯ (ไทย)อุ. ขุ. ๒๕/๑๔๓/๑๕๘.คลิกดูพระสูตร (บาลี)อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๖/๑๕๘.คลิกดูพระสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนหมอช้างพึงเข้าไปสู่ป่าช้างเขาพึงเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ทั้งยาวโดยส่วนยาวทั้งกว้างโดยส่วนกว้างในป่าช้างหมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาดย่อมไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่าท่านผู้เจริญช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอดังนี้. ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่าวามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้างรอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยช้างนั้นไปเขาตามรอยช้างนั้นไปอยู่ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ทั้งยาวโดยส่วนยาวทั้งกว้างโดยส่วนกว้างและที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูงในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้างหมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาดก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่าท่านผู้เจริญช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอดังนี้. ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่าอุจจากฬาริกามีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้างรอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไปเขาตามรอยเท้าช้างนั้นไปอยู่ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ทั้งยาวโดยส่วนยาวทั้งกว้างโดยส่วนกว้างและที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูงและที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูงหมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาดก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่าท่านผู้เจริญช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอดังนี้. ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่าอุจจากเณรุกามีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้างรอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไปเขาตามรอยเท้านั้นไปอยู่ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ทั้งยาวโดยส่วนยาวทั้งกว้างโดยส่วนกว้างที่ซึ่งถูกเบียดสีในที่สูงที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูงและกิ่งไม้หักในที่สูงและเห็นช้างนั้นไปที่โคนต้นไม้ไปในที่แจ้งเดินอยู่ยืนอยู่หรือนอนแล้ว. เขาย่อมถึงความตกลงใจว่าช้างนี้เองเป็นช้างใหญ่นั้นดังนี้แม้ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นนั่นเทียวแลตถาคตอุบัติในโลกนี้เป็นอรหันต์รู้เองโดยชอบถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะไปดีแล้วเป็นผู้รู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้จำแนกธรรมนั้นตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้เป็นไปกับด้วยเทวดามารโลกพรหมโลกซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปกับด้วยสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามตถาคตนั้นย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลางงามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตรหรือผู้ที่เกิดแล้วในสกุลใดสกุลหนึ่งย่อมฟังคำนั้นครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้วย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคตเขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งศรัทธาแม้นั้นย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่าฆราวาสเป็นที่คับแคบเป็นทางมาแห่งกิเลสเพียงดังธุลีบรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่งการที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้หาเป็นกิจอันใครๆกระทำได้โดยง่ายไม่อย่ากระนั้นเลยเราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.ในสมัยต่อมาเขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ละเคลือญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. (ไทย)มู. ม. ๑๒ / ๒๓๘ / ๓๓๒.คลิกดูพระสูตร (บาลี)มู. ม. ๑๒ / ๓๓๗ / ๓๓๒.คลิกดูพระสูตร