Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

นันทิ คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

คิดดีคลีนิค  วันที่ 24 มิ.ย. 55

รรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด

ภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง.

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ?

ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งรูป .... แห่งเวทนา ....แห่งสัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้นแห่งรูป .... แห่ง เวทนา .... แห่ง สัญญา .... แห่งสังขาร ....

 แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลายภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่.

ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป.

เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนันทิ (ความเพลินย่อมเกิดขึ้นความเพลินใด ในรูปความเพลิดเพลินนั้นคืออุปาทาน.เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะมีชาติเป็นปัจจัยชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีของ การเกิดขึ้นแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา…. แห่งสังขาร…. แห่งวิญญาณ.ภิกษุทั้งหลายความดับแห่งรูป …. แห่ง เวทนา …. แห่ง สัญญา….แห่ง สังขาร …. แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลายภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ย่อมไม่พรํ่าสรเสริญ  ย่อมไม่เมาหมกอยู่ภิกษุนั้นย่อมไม่เพลิดเพลิน  ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ  ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยูซึ่งรูป.

เมื่อภิกษนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูปนันทิ (ความเพลินใด ในรูปนันทินั้นย่อมดับไปเพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทานเพราะมีความดับแห่งอุปาทานจึงมีความดับแห่งภพเพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติเพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ  โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีของ การดับแห่งเวทนา แห่ง สัญญา แห่ง สังขาร และแห่ง วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! นี้คือ ความดับแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา ….แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณแล. 

 

(ไทย) ขนฺธ.สํ๑๗/๑๓/๒๗– ๒๙คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ.สํ๑๗/๑๗/๒๗– ๒๙คลิกดูพระสูตร

 

 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?                              

       มิคชาละ !         รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ  อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา  น่ารักใคร่  น่าพอใจ  มีลักษณะน่ารัก  เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่  เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ  มีอยู่.    ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน  พร่ำสรรเสริญ  สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ ;

        เมื่อนันทิ   มีอยู่,    สาราคะ (ความกำหนัดกล้า)  ย่อมมี ; เมื่อสาราคะ  มีอยู่,   สัญโญคะ  (ความผูกจิตติดกับอารมณ์)  ย่อมมี ;

        มิคชาละ !    ภิกษุผู้ ประกอบพร้อมแล้ว  ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล  เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”.

        มิคชาละ !  ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้  แม้จะส้องเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตามถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?   ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ;   ตัณหานั้น  อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว  เพราะเหตุนั้น  ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า  ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง ดังนี้.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๓๕๘ – ๓๕๙

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔/๖๖:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖:คลิกดูพระสูตร

{/slider}{slider=จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว}

มิคชาละ !   รูป  ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ   เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก  เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.  ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้,  แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นนั่นแหละ,   นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับ ;

เมื่อนันทิ    ไม่มีอยู่,       สาราคะ (ความกำหนัดกล้า)    ย่อมไม่มี ;

เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี ;

มิคชาละ  !  ภิกษุผู้ ไม่ประกอบพร้อมแล้ว   ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน  นั่นแล  เราเรียกว่า  “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”.

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย,   ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย,   ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ;   ถึงกระนั้น  ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า  ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของ

ภิกษุนั้น ;  ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นละเสียได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเรา

จึงเรียกว่า  ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว, ดังนี้ แล.

                    

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔/๖๗ :คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๔/๖๗ :คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today1191
Yesterday1254
This week5996
This month16014
Total2523319

Who Is Online

88
Online