ประโยชน์ของการสาธยายธรรม มีอะไรบ้าง และควรสาธยายธรรมบทไหน, พระพุทธเจ้าสวดอะไร
วีดีโอ1
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
วีดีโอ2
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
ประโยชน์ของการสาธยายธรรม
๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐/๑๕๕. : คลิกดูพระสูตร
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๐/๒๖. : คลิกดูพระสูตร
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูตร
(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓. : คลิกดูพระสูตร
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
(ภาษาไทย) ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒. : คลิกดูพระสูตร
๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน
(ภาษาไทย) อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕. : คลิกดูพระสูตร
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน (หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘. : คลิกดูพระสูตร
๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้ (หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
(ภาษาไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.: : คลิกดูพระสูตร
กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๘/๑๕๔. : คลิกดูพระสูตร
สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว ได้ตรัสข้อความเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าว บัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! :
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย.
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณ ะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ;
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป;
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ;
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ;
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา;
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา;
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน;
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ;
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ;
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”, ดังนี้.
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๑
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๑ : คลิกดูพระสูตร