บทสวดที่พระอาจารย์และคณะสงฆ์ สวดก่อนฉัน แปลว่าอย่างไร
ดาวน์โหลด : วิดีโอ
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
กาลทานสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้แล ฯ ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้า ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือย่อมเป็นผู้มีส่วน แห่งบุญ เพราะฉะนั้นผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก. (ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๖/๓๖.: คลิกดูพระสูตร
ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑
ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑
ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑
ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
โภชนทานสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทาน ชื่อว่าให้ฐานะ๕ อย่างแก่ ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ให้อายุ ๑ (ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๖/๓๗.: คลิกดูพระสูตร
ให้วรรณะ ๑
ให้สุข ๑
ให้กำลัง ๑
ให้ปฏิภาณ
ครั้นให้อายุแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้วรรณะแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้กำลังแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทานชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แล.
ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลังย่อมได้กำลัง ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุขย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุขและปฏิภาณ แล้วจะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ.
อายุโท พลโท ธีโร วณฺณโท ปฏิภาณโท
สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุข โส อธิคจฺฉติ
อายุ ทตฺวา พล วณฺณ สุขฺจ ปฏิภาณโท
ทีฆายุ ยสวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชตีติ ฯ
ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลัง ย่อมได้กำลัง ให้วรรณะ ย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณให้สุขย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้วจะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ฯ
(บาลี) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๕/๓๗ : คลิกดูพระสูตร
(ไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๗/๓๗ : คลิกดูพระสูตร
กาเล ททนฺติ สปฺปฺา วทฺู วีตมจฺฉรา
กาเลน ทินฺน อริเยสุ อุชุภูเตสุ ตาทิสุ
วิปฺปสนฺนมนา ตสฺส วิปุลา โหติ ทกฺขิณา
เย ตตฺถ อนุโมทนฺติ เวยฺยาวจฺจ กโรนฺติ วา
น เตน ทกฺขิณา อูนา เตปิ ปฺุสฺส ภาคิโน
ตสฺมา ทเท อปฺปฏิวาณจิตฺโต ยตฺถ ทินฺน มหปฺผล
ปฺุานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ
ผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง
ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์
ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น
ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น
แม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
เพระาฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก
บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก ฯ
(บาลี) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๖ : คลิกดูพระสูตร
(ไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๖/๓๖ : คลิกดูพระสูตร