การสร้างเหตุที่ถูกต้อง คืออย่างไร
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภูมิชะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมันแสวงหาน้ำมัน จึงเที่ยวเสาะหาน้ำมัน แต่เกลี่ยทรายลงในรางแล้วคั้นไปเอาน้ำพรมไปๆ … ถ้าแม้ทำความหวัง แล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็ ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าแม้ทำความไม่หวัง แล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆเขาก็ ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็ ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ... นั่นเพราะเหตุไร... ภูมิชะ ! เพราะเขาไม่สามารถจะได้น้ำมันโดยวิธีไม่แยบคาย ฉันใด ภูมิชะ ! ฉันนั้นเหมือนกันแล... สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มีมิจฉาวาจา มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาวายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ ... ถ้าแม้ทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ ไม่สามารถจะบรรลุผล... นั่นเพราะเหตุไร ภูมิชะ ! เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย …ฯ… (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๗/๔๑๐. : คลิกดูพระสูตร
ภูมิชะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมันจึงเที่ยวเสาะหา น้ำมัน เกลี่ยงาป่นลงในรางแล้วคั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ ถ้าแม้ ทำความหวังแล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน … ถ้าแม้ ทำความไม่หวังแล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน ... ถ้าแม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว เกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน ... ถ้าแม้ ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้ว เกลี่ยงาป่นลงในรางคั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน นั่นเพราะเหตุไร ภูมิชะ ! เพราะเขาสามารถได้น้ำมันโดยวิธีแยบคาย ฉันใด ภูมิชะ ! ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มี สัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ … ถ้าแม้ ทำความหวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล … ถ้าแม้ ทำความไม่หวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล … ถ้าแม้ ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล... ถ้าแม้ ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล… นั่นเพราะเหตุไร ภูมิชะ ! เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย …ฯ… (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๙/๔๑๕. : คลิกดูพระสูตร
วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้นมีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้นประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น แต่เขานอนคลุมศีรษะ ของตนอยู่ที่ริมฝั่งนี้. วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจะไปจากฝั่งใน สู่ฝั่งนอกแห่งแม่น้ำ อจิรวดีได้หรือหนอ ? “ไม่ได้แน่ ท่านพระโคดม !” วาเสฏฐะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง ๕ อย่าง อย่างไรเล่า ? ๕ อย่าง คือ กามฉันทนิวรณ์ พ๎ยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ (ความง่วงเหงาซึมเซา) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญ) วิจิกิจฉานิวรณ์ (ความลังเล, สงสัย) วาเสฏฐะ ! นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้แล ซึ่งเรียกกัน ในอริยวินัย ว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง. วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ถูกนิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว. วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมะที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะ ที่ไม่ทำความเป็นพราหมณ์ ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่ อันนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่าง ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะเป็นไปได้. พุทธวจน อานาปานสติ โดย ตถาคต หน้า ๑๓๓. (ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๓๖๖/๓๗๘-๓๗๙.: คลิกดูพระสูตร
(หรือการเจริญพรหมวิหาร ) วาเสฏฐะ ! เมื่อภิกษุ พิจารณาเห็น นิวรณ์ ๕ ประการ เหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนเป็นหนี้ เหมือนเป็นโรค เหมือนถูกจองจำ เหมือนมีความเป็นทาส เหมือนเดินทางไกลกันดาร และ เมื่อเธอพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ประการ ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากการจองจำ เหมือนมีความเป็นไทแก่ตน เหมือนอยู่ในสถานอันเกษม ฉันนั้นแล. เมื่อเธอพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน เมื่อเธอพิจารณา เห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจ ประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรํางับ ผู้มีกายสงบรํางับ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย เมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ ไปทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ เธอมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยกรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไป ทั้งเบื้องบนเบื้องตํ่า เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ เธอมีจิตประกอบด้วยมุฑิตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย มุฑิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ เธอมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย อุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ ไปทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกําลัง ย่อมเป่าสังข์ ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ (กรุณาเจโตวิมุตติ..., มุทิตาเจโตวิมุตติ..., อุเบกขาเจโตวิมุตติ...,) ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทําอย่างมีขีดจํากัดย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น … วาเสฏฐะ ! นี้แล ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม. พุทธวจน สาธยายธรรม หน้า ๑๐๐. (ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๓๘๑/๓๘๓-๓๘๔.: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :- สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา(การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ). พุทธวจน แก้กรรม หน้า ๒. (ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๖/๓๓๔. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยใจด้วย ธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาอันเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง… พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) หน้า ๑๖. (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๑/๘๒๒. : คลิกดูพระสูตร
อานนท์ ! ... เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคล ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต. อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้. พุทธวจน แก้กรรม หน้า ๓๘. (ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๖/๗๕. : คลิกดูพระสูตร
อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตนเป็น ผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า ดังนี้. อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรมในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า ... ในองค์พระธรรม ... ใน องค์พระสงฆ์... และ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า คือ เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิ ไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ. อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่าแว่นธรรมซึ่งหากอริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล. พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๒. (ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๕๙/๑๔๗๙-๑๔๘๐. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ : - ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่ อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่ อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระธรรม; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่ อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระสงฆ์; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่ อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในสิกขา; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจ มาสู่อนาคมนียวัตถุ(วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา); ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจ ยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ. ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ (โดยธรรมชาติ) ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ :- ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นของสุข; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไรๆ โดยความเป็นตัวตน; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์ โดยโกตุหลมงคล; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคลภายนอกจากศาสนานี้ ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ. ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ : - ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ตนทำเอง”; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้”; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี”; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”; ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองและไม่ต้อง ใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เหตุ (แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้ว โดยแท้จริง และธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ. พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๑๐. (ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๓-๓๖๔.,๓๖๖ : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะ อิศวรเนรมิตให้(อิสฺสรนิมฺมานเหตูติ)” ดังนี้ มีอยู่, เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า “ถ้ากระนั้น (ในบัดนี้) คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้องเป็นเพราะการเนรมิตของอิศวรด้วย. เมื่อมัวแต่ถือเอาการเนรมิตของอิศวร มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำหรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ(กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ(อกรณียกิจ) อีกต่อไป. เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตน ว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้. พุทธวจน แก้กรรม หน้า ๖๓. (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๖๘/๕๐๑. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสําคัญความขอนี้วาอยางไร : ฝุนนิดหนึ่งที่เราชอนขึ้นดวยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ขางไหนจะมากกวากัน ? ขาแตพระองคผูเจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเปนดินที่มากกวา ฝุนนิดหนึ่งเทาที่ทรงชอนขึ้นดวย ปลายพระนขานี้ เปนของมีประมาณนอย ฝุนนั้น เมื่อนําเขาไปเทียบกับมหาปฐพี ยอมไมถึงซึ่ง การคํานวณได เปรียบเทียบได ไมเขาถึงแมซึ่งสวนเสี้ยว. ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตวที่จุติจากเทวดาไปแลว จะกลับไปเกิดในหมูมนุษยมีนอย โดยที่แท สัตวที่จุติจากเทวดาไปแลว กลับไปเกิดในนรก กําเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกวาโดยแท. ขอนั้นเพราะเหตุไรเลา ? ภิกษุทั้งหลาย ! ขอนั้นเพราะความที่สัตวเหลานั้น ไมเห็นอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่ อยางไรเลา ? สี่อยางคือ :- อริยสัจ คือ ทุกข อริยสัจ คือ เหตุใหเกิดขึ้นแหงทุกข อริยสัจ คือ ความดับไมเหลือแหงทุกข อริยสัจ คือ ทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเปนเครื่องกระทําใหรูวา :- ทุกข เปนอยางนี้ เหตุเกิดขึ้นแหงทุกข เปนอยางนี้ ความดับไมเหลือแหงทุกข เปนอยางนี้ ทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข เปนอยางนี้ ดังนี้. พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๓๙๒. (ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๖๗/๑๗๙๒-๑๗๙๔. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เปนอยางไรเลา ? คือ หนทางอันประกอบดวยองคแปดอันประเสริฐ นี้เอง, องคแปด คือ ความเห็นชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) เปนอยางไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความรูในทุกข ความรูในเหตุใหเกิดทุกข ความรูในความดับไมเหลือแหงทุกข ความรูในหนทางเปนเครื่องใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข อันใด, นี้เราเรียกวา ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ). อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๓๕. (ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙. : คลิกดูพระสูตร
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น, ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ : อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม). ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย อะไรเล่า ? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ, ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง; แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย … พุทธวจน แก้กรรม หน้า ๑๕๒. (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑/๗๕. : คลิกดูพระสูตร
คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทําไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ …ฯ… พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๖. (ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๘/๙๒. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทําให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า ? ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ อายตนะเป็นเหตุแห่งผัสสะ คือ ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ … ภิกษุทั้งหลาย ! รูป ที่เห็นด้วย ตาก็ดี, เสียง ที่ฟังด้วย หู ก็ดี, กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี, รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น ก็ดี, โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี, ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ … ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทําให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทําให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ อาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ การกาวลงสูครรภยอมมี; เมื่อ การกาวลงสูครรภ มีอยู, นามรูปยอมมี; เพราะ มีนามรูปเปนปจจัย จึงมีสฬายตนะ; เพราะ มีสฬายตนะเปนปจจัย จึงมีผัสสะ ; เพราะ มีผัสสะเปนปจจัย จึงมีเวทนา. ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นทุกขสมุทัย” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธ” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา. ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เปนอยางไรเลา ? แมความเกิด ก็เปน ทุกข, แมความแก ก็เปนทุกข, แมความตาย ก็เปนทุกข, แมโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เปนทุกข, การประสบกับสิ่งไมเปนที่รัก เปนทุกข, ความพลัดพรากจากสิ่งเปนที่รัก เปนทุกข, ปรารถนาสิ่งใด แลวไมได สิ่งนั้น นั่นก็เปนทุกข : กลาวโดยยอ ปญจุปาทานขันธทั้งหลาย เปนทุกข. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากลาววา ทุกขอริยสัจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เปนอยางไรเลา ? เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะมีอวิชชา เปนปจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย ; เพราะมีสังขาร เปนปจจัย จึงมี วิญญาณ ; เพราะมีวิญญาณ เปนปจจัย จึงมี นามรูป ; เพราะมีนามรูปเปนปจจัย จึงมี สฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะ เปนปจจัย จึงมี ผัสสะ ; เพราะมีผัสสะ เปนปจจัย จึงมี เวทนา ; เพราะมีเวทนา เปนปจจัย จึงมี ตัณหา ; เพราะมีตัณหา เปนปจจัย จึงมี อุปาทาน ; เพราะมีอุปาทาน เปนปจจัย จึงมี ภพ ; เพราะมีภพ เปนปจจัย จึงมี ชาติ ; เพราะมีชาติ เปนปจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถวน : ความเกิดขึ้นพรอมแหงกองทุกขทั้งสิ้นนี้ ยอมมี ดวยอาการอยางนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากลาววา ทุกขสมุทยอริยสัจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เปนอยางไรเลา ? เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป เพราะความจางคลายดับไปโดยไมเหลือแหงอวิชชานั้นนั่นเทียว. จึงมี ความดับแหงสังขาร ; เพราะมี ความดับแหงสังขารจึงมี ความดับแหงวิญญาณ ; เพราะมี ความดับแหงวิญญาณ จึงมี ความดับแหงนามรูป ; เพราะมี ความดับแหงนามรูป จึงมี ความดับแหงสฬายตนะ ; เพราะมี ความดับแหงสฬายตนะ จึงมี ความดับแหงผัสสะ ; เพราะมี ความดับแหงผัสสะจึงมี ความดับแหงเวทนา ; เพราะมี ความดับแหงเวทนา จึงมี ความดับแหงตัณหา ; เพราะมี ความดับแหงตัณหา จึงมี ความดับแหงอุปาทาน ; เพราะมี ความดับแหงอุปาทาน จึงมี ความดับแหงภพ ; เพราะมี ความดับแหงภพ จึงมี ความดับแหงชาติ ; เพราะมี ความดับแหงชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแหงกองทุกขทั้งสิ้นนี้ ยอมมีดวยอาการอยางนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากลาววา ทุกขนิโรธอริยสัจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เปนอยางไรเลา ? มรรคอันประเสริฐ ประกอบดวยองค ๘ ประการ นี้นั่นเอง กลาวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากลาววา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ขอที่วา “ธรรมอันเราแสดงแลววา‘เหลานี้ คือ อริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ’ ดังนี้ เปนธรรมอันสมณพราหมณผูรูทั้งหลายขมขี่ไมได ทําใหเศราหมองไมได ติเตียนไมได คัดงางไมได” ดังนี้อันใด อันเรากลาว แลว ; ขอนั้น เรากลาวหมายถึงขอความดังกลาวมานี้ แล. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๐๘. (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๖๙/๕๐๑.: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อรูเมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เปนจริง. เมื่อรูเมื่อเห็น ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เปนจริง, เมื่อรูเมื่อเห็น ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เปนจริง, เมื่อรูเมื่อเห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เปนจริง, เมื่อรูเมื่อเห็น ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเปนปจจัย ( เพราะมี ผัสสะ เปนปจจัย จึงมี เวทนา ; เพราะมี ความดับแหงผัสสะ จึงมี ความดับแหงเวทนา ; ) อันเปนสุขก็ตาม เปนทุกขก็ตาม ไมใชทุกขไมใชสุขก็ตาม ตามที่เปนจริงแลว ; เขายอมไมกําหนัดในจักษุ, ไม กําหนัดในรูปทั้งหลาย, ไมกําหนัดในจักขุวิญญาณ, ไมกําหนัดในจักขุสัมผัส, และไมกําหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเปน ปจจัย อันเปนสุขก็ตาม เปนทุกขก็ตาม ไมใชทุกขไมใชสุขก็ตาม. เมื่อบุคคลนั้นไม่กําหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่งเหลานั้น) อยู่เนือง ๆ, ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อ เกิดต่อไป; และตัณหา อันเปนเครื่องนําไปสูภพใหม อันประกอบอยูดวยความกําหนัดดวยอํานาจความเพลิน เปนเครื่องทําใหเพลินอยางยิ่งในอารมณนั้น ๆ นั้นอันเขายอมละเสียได ; ความกระวนกระวาย(ทรถ) แม ทางกาย อันเขายอมละเสียได, ความกระวนกระวาย แม ทางจิต อันเขายอมละเสียได ; ความแผดเผา(สนฺตาป)แม ทางกาย อันเขายอมละเสียได, ความแผดเผา แม ทางจิต อันเขายอมละเสียได ; ความเร่าร้อน(ปริฬาห) แม ทางกาย อันเขายอมละเสียได, ความเรารอน แม ทางจิต อันเขายอมละเสียได. บุคคลนั้นยอม เสวยซึ่งความสุข อันเปนไป ทางกาย ดวย. บุคคลนั้นยอม เสวยซึ่งความสุข อันเปนไป ทางจิต ดวย. เมื่อบุคคลเห็นเชนนั้นแลว ทิฏฐิของเขา ยอมเปน สัมมาทิฏฐิ ; ความดําริของเขา ยอมเปน สัมมาสังกัปปะ; ความพยายามของเขา ยอมเปน สัมมาวายามะ ; สติของเขา ยอมเปน สัมมาสติ ; สมาธิ ของเขา ยอมเปนสัมมาสมาธิ ; สวน กายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขา เปนธรรมบริสุทธิ์อยูกอนแลว ดวยอาการอยางนี้ เปนอันวา อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้ ของเขานั้น ยอมถึงซึ่ง ความเต็มรอบแห่งความเจริญ. เมื่อเขาทํา อริยอัฏฐังคิกมรรค ใหเจริญอยูดวยอาการอยางนี้ … ธรรมทั้งสอง คือ สมถะ และ วิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป. บุคคลนั้นยอม กําหนดรู้ ดวยปญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคล พึงกําหนดรูดวยปญญาอันยิ่ง ; บุคคลนั้นยอม ละ ดวยปญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคล พึงละดวยปญญาอันยิ่ง ; บุคคลนั้นยอม ทําให้เจริญ ดวยปญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคล พึงทําใหเจริญดวยปญญาอันยิ่ง; บุคคลนั้นยอม ทําให้แจ้ง ดวยปญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคล พึงทําใหแจงดวยปญญาอันยิ่ง.…ฯ… (ในกรณีที่เกี่ยวกับ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน และ สหคตธรรม แห่งอายตนะมีโสต เป็นต้น ก็มีเนื้อความเหมือนกับที่กลาวแลวในกรณีแหง จักษุและสหคตธรรมของจักษุ ดังที่กลาวขางบนนี้ ทุกประการ พึงขยายความใหเต็มตามนั้น). อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๙๐. (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๕/๘๒๘-๘๒๙. : คลิกดูพระสูตร