ในการนั่งสมาธิ ต้องพิจารณาการเกิด-ดับของขันธ์ทั้ง ๕ ด้วยหรือไม่
วิดีโอ
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
อานาปานสติบริบูรณ์ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย!ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้? ภิกษุทั้งหลาย!สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า“เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย!สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ”หายใจออก”;ภิกษุทั้งหลาย!สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย!เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย!เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย!สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย!สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย!เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ. ภิกษุทั้งหลาย!เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย!สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำหายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำหายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจออก”; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”,ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำหายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย!สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย!ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา. ภิกษุทั้งหลาย!เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย!อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ให้บริบูรณ์ได้.__อานาปานสติบริบูรณ์ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ อานาปานสติ หน้า ๑๒-๑๖ (ภาษาไทย) มหาวาร.สํ. ๑๙/๓๔๐/๑๔๐๒-๑๔๐๓. : คลิกดูพระสูตร (ภาษาไทย) มหาวาร.สํ. ๑๙/ ๓๓๖/๑๓๘๑-๑๓๙๘. : คลิกดูพระสูตร (ภาษาไทย) มหาวาร.สํ. ๑๙/๓๓๙/๑๓๙๙-๑๔๐๑. : คลิกดูพระสูตร (ภาษาไทย) มหาวาร.สํ. ๑๙/๓๔๑/๑๔๐๔-๑๔๐๕. : คลิกดูพระสูตร