จิตสงบนิ่งแล้วทำอย่างไรต่อ
วีดีโอ1
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์ ๒๗ พ.ย. ๕๓
ดาวน์โหลด : mp4, mp3
เสียง1
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ยุวพุทธ ๑ (Track 6)
ดาวน์โหลด : mp3
เสียง2
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ยุวพุทธ ๒ (Track 10)
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
เสียง3
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ยุวพุทธ ๓ (Track 9)
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
เสียง4
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ยุวพุทธ ๔ (Track 3)
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
...ฯลฯ... ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นความเกิดความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา (ไทย) อุปริ. ม. ๑๑/๒๖๙/๔๔๔. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) อุปริ. ม. ๑๑/๓๑๕/๔๔๔. : คลิกดูพระสูตร
...ฯลฯ... ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี, สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ...ฯลฯ... อานาปานสติ หน้า ๒๑ (ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๘/๑๓๙๓. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๐/๑๓๙๓.: คลิกดูพระสูตร
เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับรูปสัญญาทั้งสี่ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็นผู้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะวิตกวิจารระงับไป เราพึงเข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เพราะธรรมอันเอกคือ สมาธิ ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย (สุขญฺจ กาเยน) ชนิดที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข, เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เราพึงเข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับอรูปสัญญาทั้งสี่ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะการไม่กระทำในใจ ซึ่งนานัตตสัญญามีประการต่างๆ เราพึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่าไม่มีอะไร แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. เจริญอานาปานสติ เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. อานาปานสติ หน้า ๖๔-๖๗ (ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๔-๓๒๕/๑๓๓๗-๑๓๔๕. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๑-๔๐๒/๑๓๓๗-๑๓๔๕. : คลิกดูพระสูตร
ปฏิปทาการบรรลุอรหัตต์หรืออนาคามีในภพปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการ ; ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม (ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว, หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังมีอุปาทิ (เชื้อ) เหลืออยู่. ภิกษุทั้งหลาย! ธรรม ๕ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ : - ภิกษุทั้งหลาย! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ; ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม (ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว, หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังอุปาทิหลืออยู่ แล. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๔๓๘ (ไทย) ปญฺจก. อํ ๒๒/๑๒๘/๑๒๒. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) ปญฺจก. อํ ๒๒/๑๖๐/๑๒๒. : คลิกดูพระสูตร
อานิสงส์สูงสุดแห่งอานาปานสติ ๒ ประการ ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก : เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้; คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี. อานาปานสติ หน้า ๑ (ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๐/๑๓๑๑-๑๓๑๓. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖/๑๓๑๑-๑๓๑๓. : คลิกดูพระสูตร
สุขที่สัตว์โลกควรกลัว และไม่ควรกลัว ...ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูป ที่เห็นด้วยตา, เสียง ที่ฟังด้วยหู, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย, (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ ; ภิกษุทั้งหลาย ! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้, สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่ากามสุข อันเป็นสุขของบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬ๎หสุข) ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน... จตุตถฌาน... แล้วแลอยู่. นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก, ไม่ควรกลัว. คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, นั้น ; คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๑ (ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๒๒/๖๕๙. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๖/๖๕๙. : คลิกดูพระสูตร
อนุสัยเนื่องอยู่กับเวทนา ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ควรละเสีย. ปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนา เป็นสิ่งที่ควรละเสีย. อวิชชานุสัยอันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ควรละเสีย. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด ราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว, ปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว. อวิชชานุสัยอันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว ; ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีอนุสัย เป็นผู้เห็นชอบ ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๙๓ (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๐/๓๖๓-๓๖๔. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๔/๓๖๓-๓๖๔. : คลิกดูพระสูตร
ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา
ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร
ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายในนั่นเทียว เพื่อเกิดปัญญารู้ความเกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย ๑ ;
มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย ๑ ;
มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร ๑ ;
มีความสำคัญว่าในโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี ๑ ;
มีปกติเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑.
สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.
ราคานุสัยย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น.
เมื่อบุคคลเสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น.
บุคคลเพลิดเพลินแม้ในอทุกขมสุข อันพระภูริปัญญาพุทธเจ้าทรงแสดงว่า
เป็นธรรมอันรำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ไปได้ไม่.
เมื่อใดภิกษุ มีความเพียรเผากิเลส ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ
ก็เป็นบัณฑิต รอบรู้เวทนาทั้งปวง. ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่งเวทนา
จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
จนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับ (ว่าเป็นอะไร) แล.