การเชื่อมโยงขันธ์ ๕
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ภพ ภพดังนี้ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงไร พระเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจักไม่มีแล้ว กามภพ พึงปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ "ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า ฯ " ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหา ชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลวของสัตว์ พวกที่มีอวิชชาเป็น เครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูกรอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในรูปธาตุ จักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ "ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า ฯ" ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อ ว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างกลางของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่อง สกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูกรอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ "ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า ฯ" ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหา ชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่างประณีต ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็น เครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูกรอานนท์ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ฯ หนังสือสือภพภูมิ หน้า ๔ (ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๒๑๑/๕๑๖:คลิกดูพระสูตร (บาลี)ติก. อํ. ๒๐/๒๘๗/๕๑๖:คลิกดูพระสูตร
ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ ๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก ๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ ๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร ๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ ๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะ ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะ ล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และ ข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานา สัญญายตนะ ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มี ว่า สัตว์มี กายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ และโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิติ นั้นอีกหรือ ฯ "ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ" ฯลฯ ฯลฯ วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัด วิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความ เกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติ ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก วิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควร เพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ "ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ" ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญี สัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะ ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลิน อสัญญีสัตตายตนะนั้น อีกหรือ ฯ "ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ" ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานา สัญญายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานา สัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็น เครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานา สัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ "ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ" ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ และอุบาย เป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น ได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ หนังสือภพภูมิ หน้า ๑๑ (ไทย) มหา. ที. ๑๐/๖๑-๖๓/๖๕:คลิกดูพระสูตร (บาลี) มหา. ที. ๑๐/๘๑-๘๓/๖๕:คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ.สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ.สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในรูป, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ.สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ.สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา, ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในเวทนา, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ.สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ.สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในสัญญา, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ.สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสังขาร. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ.สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขาร ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในสังขาร, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ.สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ.สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในวิญญาณ, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. หนังสืออินทรีย์สังวร หน้า ๔๕
(ไทย)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๘.คลิกดูพระสูตร (บาลี)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗/๒๘.คลิกดูพระสูตร