Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

สติ จัดอยู่ในขันธ์ใดของขันธ์ทั้ง ๕

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ 1


ชมรมคนรู้ใจ 16 กุมภาพันธ์ 2554

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

 

 

วิดีโอ 2


สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์  2 เมษายน 2554

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

 

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ลําดับแห่งการดับของสังขาร

(อนุปุพพสังขารนิโรธ)

ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลําดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้ คือ :-

เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ แล้ว อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ ;

เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๖๖.

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตร

ล่วง      เนวสัญญานาสัญญายตน โดยประการทั้งปวงแล้ว

เข้า       สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่

เพราะ   เห็นด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป

เธอย่อม มีสติออกจากสมาบัตินั้น  ครั้นแล้ว

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ที่ล่วงแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอัน   ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมีมา ธรรมที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จ ในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุตติ ภิกษุรูปนั้น คือ สารีบุตรนั่นเอง ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุตติ ฯ

(ภาษาไทย) อุปริ. . ๑๔/๙๔/๑๖๓-๑๖๔. : คลิกดูพระสูตร

 

ปัญญา สติ กับนมรูปดับ เพระวิญญณดับ

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น คือ ปัญญาและสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด; ปัญญาและสติกับนามรูปนั้น จะดับไปที่ไหน ?”.

อชิตะ ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใด เราจะแก้ปัญหา ข้อนั้นแก่ท่าน :

มและรูป ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด, ปัญญและสติกับนมรูปนั้น ก็ย่อมดับไปในที่นั้น, เพระควมดับไปแห่งวิญญณ แล.

พุทธวจน ก้วย่งอย่งพุทธะ หน้า ๑๑๘.

(บาลี) สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๐-๕๓๑/๔๒๕.  : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) จูฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๐-๒๑/๘๐,๘๕. : คลิกดูพระสูตร

 

ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ปฏิสรณาการ

อุณณาภพราหมณ์ ทูลถามว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีวิสัยต่างกันมีโคจรต่างกัน ไม่เสวยโคจรและวิสัยของกันและกัน. ห้าอย่างคือจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะ (ที่แล่นไปสู่) ของอินทรีย์เหล่านั้น? อะไรย่อมเสวยซึ่งโคจรและวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น? "

ดูก่อนพราหมณ์ ! ...ใจ เป็นปฏิสรณะของอินทรีย์เหล่านั้น; ใจ ย่อม เสวยซึ่งโคจรและวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น.

" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของใจ? "

ดูก่อนพราหมณ์! สติแล เป็นปฏิสรณะของใจ.

" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของสติ? "

ดูก่อนพราหมณ์! วิมุตติแล เป็นปฏิสรณะของสติ.

" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของวิมุตติ? "

ดูก่อนพราหมณ์! นิพพานแล เป็นปฏิสรณะของวิมุตติ.

" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเป็นปฏิสรณะของนิพพาน? "

ดูก่อนพราหมณ์! แล่นเตลิดเลยไปเสียแล้ว, ไม่อาจถือเอาที่สุดแห่งปัญหาเสียแล้ว; เพราะว่าพรหมจรรย์ นั้น เขาอยู่ประพฤติกัน มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด..

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๓๕.

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๘๘/๙๖๘-๙๗๑. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 
Today545
Yesterday684
This week4096
This month14114
Total2521419

Who Is Online

85
Online