ละสังโยชน์ในขันธ์ ๕ ได้อย่างไร
(ความยึดถือหรือเครื่องร้อยรัดจิต) ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน (สฺโญชนิยธมฺม) และ ตัวสัญโญชน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟงขอนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เปนอยางไร ? และ ตัวสัญโญชน์ เปนอยางไรเลา ? ภิกษุทั้งหลาย ! รูป (กาย) เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน. ฉันทราคะ (ความกําหนัดเพราะพอใจ) ใด เขาไปมีอยูในรูปนั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในรูปนั้น ; ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน, ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในเวทนานั้น ; ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน, ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในสัญญานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสัญญานั้น ; ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน, ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในสังขารทั้งหลายเหลานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสังขารทั้งหลายเหลานั้น ; ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน, ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในวิญญาณนั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในวิญญาณนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ขันธเหลานี้ เรียกวา สิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน ; ฉันทราคะนี้เรียกวา ตัวสัญโญชน แล. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๒๗. (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๙/๓๐๘. : คลิกดูพระสูตร
ราธะ ! ความพอใจ (ฉันทะ) ก็ดี ความกําหนัด (ราคะ) ก็ดี ความเพลิน (นันทิ) ก็ดี ความอยาก (ตัณหา) ก็ดี มีอยู ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ใดๆ พวกเธอทั้งหลาย จงละกิเลสนั้นๆ เสีย ดวยการทําอยางนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณนั้นๆ จักเปนสิ่งที่พวกเธอละไดแลว เปนสิ่งที่มีมูลรากอันตัดเสียแลว ทําใหเหมือนตาลยอดเนา ทําใหมีอยูไมได ทําใหเปนสิ่งที่เกิดขึ้นไมไดอีกตอไป. ราธะ ! ความพอใจก็ดี ความกําหนัดก็ดี ความเพลินก็ดี ความอยากก็ดี กิเลสเปนเหตุใหเขาไปสูภพ(อุปายะ) ก็ดี และความยึดมั่น (อุปาทาน) ก็ดี อันเปนเครื่องตั้งทับ เครื่องเขาไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแหงจิต มีอยู ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใดๆ พวกเธอทั้งหลายจงละกิเลสนั้นๆ เสีย ดวยการทําอยางนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ นั้นๆ จักเปนสิ่งที่พวกเธอละไดแลว เปนสิ่งที่มีมูลรากอันตัดเสียแลว ทําใหเหมือนตาลยอดเนา ทําใหมีอยูไมได ทําใหเปนสิ่งที่เกิดขึ้นไมไดอีกตอไป. พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๔๖๑. (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๕/๓๗๕-๓๗๖. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การเห็นอยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น. เมื่อ เห็นอยู่โดยถูกตอง ย่อมเบื่อหน่าย(สมฺมา ปสฺสำ นิพฺพินฺทติ); เพราะ ความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย); เพราะ ความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย); เพราะ ความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวไดว่า“จิตหลุดพนแลวดวยดี” ดังนี้. (นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตำ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ). (ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งจักษุทุกประการ). พุทธวจน มรรค วิธีที่ ง่าย หน้า ๑๙ (ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-๒๔๖. : คลิกดูพระสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?” มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้; แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่ นั่นแหละ, นันทิ(ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี; เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ(ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี : มิคชาละ ! ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วย อำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก, รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และ ธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน). มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะ อันเป็นป่า และป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้อง ครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควร แก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้ว ก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้น เราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสอง ของภิกษุนั้น.ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ยังละไม่ได้แล้วเพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น เราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” ดังนี้. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า !” มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น นั่นแหละ นันทิย่อมดับ เมื่อ นันทิไม่มีอยู่, สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อ สาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ ย่อมไม่มี มิคชาละ ! ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก, รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และ ธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน). มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น; ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้วเพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” ดังนี้ แล. พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) หน้า ๒๔. (ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔/๖๖-๖๗. : คลิกดูพระสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไป สู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้, ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไร ? พระเจ้าข้า ! และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”. ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี, ราคะ(ความกำหนัด) ก็ดี, นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี, ตัณหา(ความทะยานอยาก) ก็ดี, อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และ อุปาทาน (ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส) อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใดๆ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และ ในวิญญาณ; กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’ ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส มีฉันทะ ราคะ เป็นต้นเหล่านั้นเอง. พุทธวจน แก้กรรม หน้า ๑๖๑. (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๒/๓๖๘.. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใชเปนพืชมี ๕ อยาง เหลานี้. ๕ อยาง เหลาไหนเลา ? ๕ อยาง คือ :- (๑) พืชจากเหงาหรือราก (มูลพีช) (๒) พืชจากตน (ขนฺธพีช) (๓) พืชจากตาหรือผล (ผลพีช) (๔) พืชจากยอด (อคฺคพีช) (๕) พืชจากเมล็ด (พีชพีช) ภิกษุทั้งหลาย ! ถาสิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานี้ ที่ไมถูกทําลาย ยังไมเนาเปอย ยังไมแหงเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณอยู และอันเจาของเก็บไวดวยดี แตดิน น้ำ ไมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย ไดแลหรือ ? หาเปนเชนนั้นไม พระเจาขา ! ภิกษุทั้งหลาย ! ถาสิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานี้ แหละ ที่ไมถูกทําลายยังไมเนาเปอย ยังไมแหงเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณอยู และอันเจาของเก็บไวดวยดี ทั้งดิน น้ำ ก็มีดวย. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใชเปนพืช ๕ อยาง เหลานั้น จะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย ไดมิใชหรือ ? อยางนั้น พระเจาขา ! ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณฐิติ ๔ อยาง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นวา เหมือนกับ ดิน. ภิกษุทั้งหลาย ! นันทิราคะ (ความกําหนัดดวยอํานาจแหงความเพลิน) พึงเห็นวาเหมือนกับ นํ้า. ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบดวยปจจัย พึงเห็นวาเหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอารูปตั้งอยู ก็ตั้งอยูได เปนวิญญาณที่มีรูปเปนอารมณ มีรูปเปนที่ตั้งอาศัย มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได. ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอาเวทนา ตั้งอยู ก็ตั้งอยูได เปนวิญญาณที่มีเวทนาเปนอารมณ มีเวทนาเปนที่ตั้งอาศัย มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได. ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอาสัญญา ตั้งอยู ก็ตั้งอยูได เปนวิญญาณที่มีสัญญาเปนอารมณ มีสัญญาเปนที่ตั้งอาศัย มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได. ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเขาถือเอาสังขาร ตั้งอยู ก็ตั้งอยูได เปนวิญญาณที่มีสังขารเปนอารมณ มีสังขารเปนที่ตั้งอาศัย มีนันทิเปนที่เขาไปสองเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลยได. ภิกษุทั้งหลาย ! ผูใดจะพึงกลาวอยางนี้วา :- เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ(การตาย) การอุบัติ (การเกิด) ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลยของวิญญาณ โดยเวนจากรูป เวนจากเวทนา เวนจากสัญญา และเวนจากสังขาร ดังนี้นั้น นี่ไมใชฐานะที่จักมีไดเลย. ภิกษุทั้งหลาย ! ถาราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เปนสิ่งที่ภิกษุละไดแลว. เพราะละราคะได อารมณสําหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไมมี วิญญาณอันไมมีที่ตั้งนั้น ก็ไมงอกงาม หลุดพนไป เพราะไมถูกปรุงแตง เพราะหลุดพนไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไมหวั่นไหว เมื่อไมหวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ยอมรูชัดวา ชาติสิ้นแลว พรหมจรรยอยูจบแลว กิจที่ควรทําไดสําเร็จแลว กิจอื่นที่จะตองทําเพื่อความเปนอยางนี้ มิไดมีอีก ดังนี้. พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๑๕. (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔/๑๐๖-๑๐๗.: คลิกดูพระสูตร