สังขารในปฏิจจสมุปบาทเป็นเหตุเกิดของวิญญาณได้อย่างไร, สังขารในปฏิจจสมุปบาทและในขันธ์ ๕ เป็นตัวเดียวกันหรือไม่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ; เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป; เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ; เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ; เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา; เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา; เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน; เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ; เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ; เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๖๑
(ภาษาไทย) มหา.ที. ๑๐/๒๕-๒๙/๓๙-๔๑ : คลิกดูพระสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! :
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย. เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ; เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป; เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ; เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ; เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา; เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา; เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน; เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ; เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ; เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ; เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป; เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ; เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ; เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา; เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา; เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ; เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ; เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้, ดังนี้.
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๑
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๑ : คลิกดูพระสูตร